เชื้อแบคทีเรียหลายๆ ชนิดนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเชื้อชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว และโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด
สำหรับแบคทีเรีย อีโคไล หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า เอสเชอริเชีย โคไล หรือ Escherichia Coli นั้น สามารถพบได้ในลำไล้ของมนุษย์และสัตว์ เชื้อตัวนี้สามารถทำให้เกิดโรค หรืออาการต่างๆ แก่ร่างกายได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง โดยเชื้อแบคทีเรียอีโคไล นี้จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์ และปะปนอยู่กับพืชผัก หรืออื่นๆ ตามแต่พาหะจะพาไป
โดยสรุปคือ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ชนิดนี้ จะสามารถพบได้ทั่วไปในทางเดินอาหารของสัตว์เลือดอุ่นและคน ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย การปนเปื้อนในอาหารนั้นมักพบทั่วไปในอาหารดิบ หรือปนเปื้อนกับอาหารที่ปรุงสุกแล้วด้ายการใช้มือสัมผัส หรือติดไปกับภาชนะบรรจุ หรืออุปกรณ์ หรือน้ำที่ไม่สะอาด เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้เข้าไป จะมีอาการท้องเสีย อุจจาระเหลว แต่ไม่มีมูกเลือด การพบเชื้อในอาหารแสดงว่าอาหารมีการปนเปื้อนอุจจาระ และมีการผลิต ปรุง หรือเก็บรักษาอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ
โดยหลังจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ และมีการระบาดในประเทศอังกฤษ เรามาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ข้อมูลของ แบคทีเรียอีโคไล ชนิดนี้ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและพร้อมรับมือ หากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคชนิดนี้
มีการตรวจพบว่ามีการปนเปื้อน E.coli O157 : H7 ในอาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้งดิบ กุ้งสุก ปลาหมึกดิบ และปลาหมึกสุก
E.coli O157 : H7 จัดอยู่ในกลุ่ม Enterohaemorrhagic Escherichia coli (EHEC) พบในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย และผลิตภัณฑ์ของมัน เช่น เนื้อ นม และปนเปื้อนทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเส้นทางติดต่อจากอุจจาระไปสู่ปาก (fecal to oral) คืออุจจาระปนเปื้อนอาหารนั่นเอง บางครั้งพบการระบาดเกิดจากน้ำ
การระบาดของเชื้ออีโคไล
แรกเริ่มนั้น การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไล เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ และเชื้อโรคตัวนี้ ได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540
อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
จะพบอาการตั้งแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบ และมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ อาการอาจคล้ายอหิวาตกโรค ต้องมีการตรวจเชื้อแบบเจาะจง จึงจะทราบสาเหตุ
เชื้ออีโคไล สามารถแพร่สู่คน ได้อย่างไร
โดยปกติเชื้อแบคทีเรียอีโคไล จะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่โดยตรง ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ
จำนวนผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 รายแล้ว
อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ
ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล
ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป
การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขนาดคนเรายังเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงเมฆครึ้มเข้ากับฝนตก แบคทีเรียและยีสต์ก็เช่นเดียวกัน พวกมันเรียนรู้ว่าเหตุการณ์หนึ่งจะนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง
เอเมอร์ มิทเชลล์ นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ในอิสราเอลและคณะ รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารNature โดยกล่าวว่า สำหรับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์การเรียนรู้หลักแห่งเหตุและผลเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง หากเราเห็นเมฆดำเราจะรู้ทันทีว่าฝนกำลังมาพร้อมกับพกร่มติดตัวออกไปด้วย
สิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการศึกษานี้คือ แบคทีเรีย Escherichia coliและยีสต์ที่ใช้ในกระบวนการหมักชื่อว่า Saccharomyces cerevisiaeซึ่งเป็นยีสต์ที่เรานิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหมักบ่ม นักบ่มไวน์จะใช้ยีสต์ตัวนี้เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์มาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ส่วน Escherichia coliเป็นแบคทีเรียก่อโรคท้องร่วงที่สามารถท่องไปในระบบทางเดินอาหารของเราได้
เชื้ออีโคไล O157:H7
ภาพ : แบคทีเรีย Escherichia coliหรือ อีโคไล (นิยมใช้ชื่อย่อ E. coli) แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์
ภาพ : Saccharomyces cerevisiaeเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อ (budding) (บริเวณลูกศรชี้)
ภาพ : ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ เอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์
ในระบบทางเดินอาหารของเรา จะเกิดน้ำตาลแลคโตสขึ้นก่อนน้ำตาลมอลโตส การที่แบคทีเรีย E.coli เดินทางเข้ามาเจอน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงแต่เป็นการกระตุ้นยีนที่ช่วยให้ E.coli ย่อยแลคโตสได้เท่านั้นแต่ยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของยีนที่ใช้ย่อยมอลโตสอีกด้วย แม้ตอนนี้เจ้า E.coli จะยังไม่พบมอลโตส ทว่าในอนาคตหากมันพบ การย่อยมอลโตสก็จะสามารถเกิดขึ้นได้ทันที
คราวนี้ลองมาดูในขวดไวน์กันบ้าง ในกระบวนการหมักนั้นจะมีความร้อนเกิดขึ้น และผู้ผลิตไวน์หรือยีสต์ที่ว่านี้จะต้องทนความร้อนและสารเคมีที่เกิดจากปฏิริยาออกซิเดชันให้ได้ ขณะที่ขวดไวน์กำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ยีสต์จะเกิดการกระตุ้นยีนที่ช่วยให้พวกมันทนความร้อนและปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง
การแพร่กระจายของเชื้ออีโคไล O157:H7
พบได้ทั่วไปในฟาร์มปศุสัตว์ และสามารถตรวจพบเชื้อในลำไส้ของวัวควายที่มีสุขภาพดี ไม่เป็นสัตว์ป่วยแต่อย่างใด เนื้อสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อบดมีโอกาสปนเปื้อนเชื้ออีโคไล O157:H7 ได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการปนเปื้อนในฟาร์ม การปนเปื้อนจากกระบวนการผลิต แม้กระทั่งการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์นม เมื่อคนกินเนื้อที่ปนเปื้อนเชื้อและไม่ได้ปรุงอาหารให้สุกจึงได้รับเชื้อได้ง่าย เนื้อที่ไม่สุกและปนเปื้อนเชื้อมักจะดูไม่ออกจากลักษณะภายนอกและไม่มีกลิ่นเหม็นแต่อย่างใด จากการศึกษาวิจัยทางจุลชีววิทยาพบว่าการที่ร่างกายได้รับเชื้ออีโคไล O157:H7 เพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้
เชื้ออีโคไล O157:H7 ยังอาจพบได้ในผลิตภัณฑ์นม น้ำผลไม้ ผักสดบางชนิด ซาลามี่ และพบว่าเกิดการะบาดจากแหล่งน้ำที่มีเชื้อโรคนี้อยู่อีกด้วย เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยยังสามารถแพร่เชื้อต่อไปอีกได้ ดังนั้นการรักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการระบาดของโรคนี้ สิ่งสำคัญที่ควรเน้นเสมอคือ เรื่องของการล้างมือ หลักฐานทางวิชาการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเพียงการล้างมือเท่านั้น ก็สามารถลดการกระจายของเชื้ออีโคไล O157:H7 ได้ สำหรับบ้านที่มีเด็กอ่อนต้องให้การดูแลเกี่ยวกับการขับถ่ายของเด็กด้วย เนื่องจากพบว่าเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งของการระบาด เด็กเล็กสามารถแพร่เชื้อได้นานถึงสองสัปดาห์ และในเด็กโตพบว่าหากได้รับเชื้อแล้วมักจะเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นโรคแทบทุกราย
เชื้ออีโคไล O157:H7 ก่อให้เกิดโรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วง ในบางรายอาการอาจไม่รุนแรงมากและหายได้ภายในเจ็ดวันสิบวัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยน้อยรายที่จะถ่ายอุจจาระปกติ โรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการติดเชื้อนี้มักจะไม่มีไข้ แต่ผู้ป่วยจะปวดท้องมาก ถึงขั้นปวดบิดได้ ในเด็กอ่อนอายุน้อย 5 ปีและในผู้สูงอายุ มักจะเกิดโรคแทรกซ้อน เม็ดเลือดแดงถูกทำลายและทำให้ไตวาย เรียกชื่อว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (hemolytic uremic syndrome) ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบได้ร้อยละ 2-7 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ และเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในเด็ก การติดเชื้ออีโคไล O157:H7 จึงมีความสำคัญและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ควรให้ความสนใจอย่างหนึ่ง
E.coli O104:H4
เชื้ออีโคไลที่กำลังระบาดในเยอรมณีในปัจจุบัน จัดอยู่ในกลุ่ม เอนเทอโรฮีโมเรจิกอีโคไล ซึ่งสร้างสารพิษชิกา เรียกว่า Shiga-toxin producing Escherichia coli (STEC) เชื้ออีโคไลกลุ่มนี้ ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 100 โอซีโรไทป์ ซึ่งสายพันธุ์ที่พบระบาดบ่อย คือ ซีโรไทป์ O157:H7 แต่เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนี้ คือ ซีโรไทป์ O104:H4 ซึ่งมีความรุนแรงมากอาการทีพบในผู้ป่วยได้แก่ อาการปวดท้อง ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นเลือด อาจมีไข้แต่ไข้ไม่สูง (ต่ำกว่า 38.3 องศาเซลเซียส) อาเจียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรักษาหายได้ใน 5-7 วัน ผู้ป่วยบางรายเช่นเด็กเล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนมีเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (Haemorrhagic uremic syndrome, HUS) ภายหลังอาการท้องร่วงหนึ่งสัปดาห์ มีอาการอ่อนเพลียมาก ผิวหนังซีดเพราะภาวะเลือดจาง อาจทำให้เสียชีวิตได้ อัตราการตายสูงประมาณร้อยละ 5 ผู้ป่วยบางรายมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น ช็อกหมดสติได้ พบว่าเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด จึงต้องเลือกใช้ยาที่ยังมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้ออย่างถูกต้อง
กลไกการเกิดโรคของ อีโคไล
เชื้อสามารถสร้างสารพิษชิกา ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น2 กลุ่ม คือ Shiga toxin 1 (STX1) และ Shiga toxin 2 (STX2) นอกจากนั้น เชื้อสร้างโปรตีนอินติมิน (Intimin) ซึ่งเชื้อใช้ในการเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ และสร้างสารพิษชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน (enterohaemolysin) ซึ่งมีผลต่อภาวะเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย
การป้องกันการติดเชื้อ อีโคไล
เชื้ออีโคไล ก่อโรคได้โดยการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อเข้าไป เท่านั้น และเชื้อนี้ฆ่าได้ด้วยความร้อน ดังนั้นจึงป้องกันการติดเชื้อได้โดยการรับประทานอาหารปรุงสุก ส่วนผัก ผลไม้ ต่างๆ ต้องล้าง ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หรือแช่ผัก ผลไม้ในน้ำด่างทับทิม น้ำส้มสายชู ยาล้างผักแช่ทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ก็จะสามารถชะล้างเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิดที่ปนเปื้อนได้
เอนเทอโรฮีโมเรจิกอีโคไลทุกซีโรทัยป์ยังไม่พบระบาดในประเทศไทย แม้ว่าจะสามารถตรวจพบสายพันธุ์ O157:H7 ในผู้ป่วยอาการท้องร่วงได้บ้างก็ตาม ดังนั้น การดูแลสุขอนามัยโดยเฉพาะการดื่มน้ำ อาหารที่สะอาด ปรุงสุก ตลอดจนอนามัยส่วนบุคคล เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ ก่อนรับประทานอาหาร ก่อนปรุงอาหารให้ผู้อื่น สามารถป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อโรคให้ผู้อื่นได้ และที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับสุขภาพดี
โรคกระดูกสันหลังคด
นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางสรีระที่หลายคนวิตกกังวล เพราะส่งผลถึงบุคลิกภาพ ที่ อาจทำให้ใครหลายคนดูสง่างามน้อยลง จนพลาดโอกาสที่จะทำงานในบางอาชีพได้
เคล็ดลับความงาม
Puerariamirifica กวาวเครือ
ราชาสมุนไพรไทยกับสรรพคุณล้ำเลิศ ทั้งทำให้หน้าเด้ง ทำให้อกเด้ง ด้วยกวาวเครือ และในยุคนี้ใครบอกไม่รู้จักกวาวเครือคงจะเชย
ลดและควบคุมน้ำหนัก
เคล็ดลับการลดคอเลสเตอรอล ในร่างกายด้วย แครอท
น้ำแครอทปั่น สูตรไร้คอเลสเตอรอล ด้วยเคล็ดลับการลดคอเลสเตอรอลด้วยตัวเอง กับผลไม้ลดน้ำตาลในเลือด
ปัญหาหนังศีรษะ
บำรุงเส้นผมบนหนังศีรษะ
เรื่องสำคัญสำหรับทุกคนส่วนหนึ่งไม่ใช่มีรูปร่างหน้าตาที่ดูดีแล้ว เส้นผมบนศีรษะ ก็ควรจะดูดีและเงางามเช่นกัน หากเป็นเชื้อสายของคนเอเซีย โดยเฉพาะคนไทยแล้ว เส้นผมที่มีก็ควรจะเป็นสีดำตามเผ่าพันธุ์ ถ้ามีการโกรกผม ย้อมผม เปลี่ยนสีเป็นสีอื่นๆ
เคล็ดลับสุขภาพดี
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คนไทยเป็นบ่อยต้องระวัง
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แม้แต่หมอก็แนะนำ ให้สำรวจตัวเองบ่อย ๆ
ปัญหาหนังศีรษะ
ผมสวย ด้วย พืชผักสวนครัว
สาวๆ ทราบกันหรือไม่ว่าพืชผักสวนครัว ก็สามารถทำให้เส้นผมของเรา ดูสวย เงางาม ได้เหมือนกัน วันนี้มีวิธีมาบอก เคล็ดลับผมสวย สำหรับสาวๆ รวมทั้งหนุ่มๆ ที่อยากจะมีเส้นผมเงางามมาฝาก