เป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่ง ว่าในช่วงเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้ามาปรึกษาแพทย์ทางกระดูกและข้อ เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดกับมือและแขน

ที่ต้องเข้ารับการฟื้นฟูทำกายภาพบำบัดจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหญิงและชาย ที่พบเป็นประจำได้แก่ อาการมือชาจนอ่อนแรงหยิบจับอะไรแทบจะไม่ได้เลยโดยที่ไม่ได้มีอาการจากการนอนทับแขนแต่อย่างใด หรืออาการของนิ้วล็อค โดยมีอาการคือ นิ้วบางนิ้วแข็งเกร็งขยับแทบไม่ได้ เมื่องอหรือเหยียดนิ้วออกแล้วจะเจ็บปวดมากนั่นเอง

หลังจากสอบถามประวัติของคนไข้แต่ละคนแล้ว ก็ได้รับคำตอบที่คล้ายๆ กันคือ ส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ บางคนมีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ พนักงานบัญชี นอกเหนือไปจากนั้นก็ได้แก่ หนุ่มๆ นักกอล์ฟ กลุ่มสาวๆ พนักงานนวด (แผนไทย)

คนทำงานตามโรงงาน ที่ต้องใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ พ่อครัวที่ต้องสับเนื้อหั่นผักตลอดเวลา แม้กระทั่งแม่บ้านที่ทำงานซักผ้า ถูบ้านต้องออกแรงบิดผ้าเสมอๆ คือเป็นผู้ที่มีการใช้นิ้วมือและแขนอยู่ตลอดเวลาทั้งวัน ลองมาดูกันดีกว่าว่าอาการผิดปกติเหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร หากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทัน และไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้น

โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ

โรคมือชา เกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือ เพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือ โดยทอดผ่านบริเวณข้อมือ และลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการ ที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชา ร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรง หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด แขนชาเวลานอน ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลง เมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี

โรคมือชา เท้าชา แขนชา เวลานอน นิ้วล็อค

อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคมือชา

สิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวม และการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทถูกกด เช่น เกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่นใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรู กำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน

ในการเกิดอาการแขนชา มือชานั้น ถ้าชาแค่มือข้างเดียว บางครั้งบางท่า ก็อาจจะเกิดจากการกดทับของเส้นประสาทที่แขนเส้นใดเส้นหนึ่ง แต่ถ้าชาเวลานอน และเริ่มลามขึ้นมาจากมือมาแขน ก็อาจจะเกิดการกดทับของเส้นประสาทบริเวณต้นคอได้ และถ้าอาการเป็นพร้อมๆ กันทั้ง 2 ข้าง และมีโรคประจำตัวอื่นด้วย เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง ก็ทำให้มีการชาได้เช่นกัน หากเกิดอาการชาดังกล่าวที่ว่าแล้ว ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดอีกครั้ง และอาจจจำเป็นต้องการทำการตรวจเพิ่มเติมตามความจำเป็น เช่นการตรวจเส้นประสาท หรือการตรวจสแกน MRI

ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • มีอาการชา และรู้สึกซ่าในบริเวณมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมักจะเกิดในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับท่าทางในการนอน และหลังจากการใช้มือข้างนั้นๆ
  • การรับความรู้สึกที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนางลดลง ทำให้หยิบจับของไม่ถนัด
  • มีอาการรู้สึกแปล๊บๆ หรือคล้ายกับไฟฟ้าช็อต เมื่อทำการเคาะลงตรงข้อมือ ในบริเวณที่มีเส้นประสาททอดผ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้น ในคนที่งอมือเข้าหาท้องแขนเป็นเวลา 1 นาที ถ้าเส้นประสาทนี้ถูกกดทับเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือแฟบลง

โรคแขนชา มือชา เท้าชา เวลานอน นิ้วล็อค

การรักษาโรคมือชา แขนชา เท้าชา ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย อาจจะใช้วิธีการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้

  • ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอน และช่วยให้เยื่อบุข้อมือ และเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ
  • รับประทานยาลดการอักเสบ
  • ถ้าอาการเป็นมากขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่าน ซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ และเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวม ทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทก็น้อยลง ปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดี ในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืด เส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลง อาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกและข้อ / พญ.ภารดี สงวนดีกุล Neurologist / beautyfullallday.com วิธีลดน้ำตาลในเลือด

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

โรคภัยไข้เจ็บ

Solenopsis invicta

มดคันไฟอิวิคต้า Solenopsis invicta มดคันไฟตัวใหม่ หรือ มดคันไฟอิวิคต้า (Solenopsis invicta)

เคล็ดลับสุขภาพดี

โรคไต กับฟอสฟอรัส

จากเรื่องที่แล้ว โรคกระดูกพรุน ซึ่งแนะนำการจัดการเกี่ยวกับ แคลเซียม

เคล็ดลับสุขภาพดี

กินอาหารแบบ Locavores

เราได้รู้กันแล้วว่า อาหาร Locavores เกิดขึ้นจากกลุ่มคนรักษ์โลกกลุ่มหนึ่งในในเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

เคล็ดลับสุขภาพดี

เคล็ดลับชะลอวัยทอง

สาวๆ รู้หรือไม่ว่า การย่างเข้าสู่วัยทองนั้น หมายถึงเราจะเริ่มต้นอาการหลายอย่างและไม่เป็นตัวของตัวเอง การใช้เวลาปรับตัวนั้นอาจเรียกได้ว่า เนิ่นนานและอาจจะยังทำใจไม่ได้ที่เราจะต้อง แก่แล้วหรือนี่

เคล็ดลับความงาม

อะไรเปลี่ยนไปเมื่อแตกเนื้อสาว

ใครจะไปรู้หากสาวๆ ที่ยังอยู่ในวัยแรกแย้มต้องเติบโตเต็มที่ จากการที่สาวๆ กำลังก้าวเข้าสู่วัยสาวเต็มตัวมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

เคล็ดลับความงาม

วิธีรักษาแผลเป็น

เรื่องของ แผลเป็น หลายคนคงไม่อยากมีจริงไหม ยิ่งแผลเป็นมาเกิดเป็นที่หน้าด้วยแล้วคงจะสร้างความกังวลใจให้กับสาวๆ เป็นอย่างมาก