โดยทั่วไปแล้ว หญิงไทยเรามีอัตราเฉลี่ยของการมีบุตรยากอยู่ที่ประมาณ 10-20% ของประชากรทั่วประเทศ
และตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากในปัจจุบันนั้น ประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น หญิงสาวทั่วไปนิยมแต่งงานช้าลง
เพราะมีภาระด้านการงานมากขึ้น รวมทั้งปัญหาต่างๆ เช่น เลือกมาก ไม่ต้องการครองคู่กับผู้ชาย หรือแม้กระทั่งคิดว่าสามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว อีกทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทางด้านการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถแก้ไปปัญหาดังกล่าวให้กับคู่สมรสได้ กับความเชื่อที่ว่า การแก้ไขปัญหาภาวะการมีบุตรยาก มีความยุ่งยาก ความเสี่ยงสูง และค่าใช้จ่ายสูง แท้จริงแล้วมีความเป็นไปอย่างไร ติดตามคำแนะนำและคำตอบได้ที่นี่
ภาวะมีบุตรยากคืออะไร
ภาวะการมีบุตรยากแค่ไหนถึงเรียกว่าคู่สมรสคู่นั้นๆ ตกอยู่ในภาวะการมีบุตรยาก ซึ่งโดยปกติแล้วจะดูอายุของฝ่ายหญิงเป็นหลัก สำหรับผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์กับสามีอย่างสมาเสมอเป็นเวลา 1 ปี แล้วยังไม่มีบุตร จัดอยู่ในกลุ่มที่ควรเข้ามารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการมีบุตรยากแล้ว แต่ถ้าผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไปนั้น ถ้า 6 เดือนแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ ก็จัดอยู่ในกลุ่มมีบุตรยากแล้ว เพราะถือว่าคนในวัยนี้มีโอกาสในการที่จะมีบุตรยากนั้นสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ
สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม การทำงานหนักของคู่สมรส กับปัจจัยความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย สิ่งไหนเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากมากกว่ากัน โดยส่วนใหญ่จะประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งถ้าจะแยกออกมานั้น จะแบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในนั้น ได้แก่เรื่องของไข่ โพรงมดลูก และท่อนำไข่ ซึ่งเป็นเรื่องของผู้หญิง ส่วนเรื่องของผู้ชาย เป็นเรื่องอสุจิ ส่วนปัจจัยภายนอกก็คือสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิต
คุณผู้หญิง สิ่งแรกคือไข่ เวลายิ่งเวลาผ่านไปไข่ก็จะเริ่มเสื่อมลง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของยาที่ใช้ คือยาคุมกำเนิด ซึ่งอาจไปกดการทำงานของรังไข่ ทำให้เมื่อหยุดยาแล้ว โอกาสที่จะกลับมามีบุตร บางครั้งจะช้ากว่าปกติ ตลอดจนเรื่องของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะทำอันตรายต่อโพรงมดลูกและท่อนำไข่ให้ตีบตัน
คุณผู้ชาย เชื้ออสุจิของฝ่ายชายนั้น ก็มีหลายสาเหตุ เรื่องของการสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ความเครียด ก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่นกัน นอกจากนี้ การทำงานหนักพักผ่อนน้อย และความเครียดนั้น มีผลโดยตรงต่อการหลั่งฮอร์โมนร่างกายทั้งของหญิงและชาย ถ้าฮอร์โมนไม่ดี จะมีปัญหาการเจริญพันธุ์ บางรายไข่ไม่ตก บางรายไข่ตกแต่ไม่สมบูรณ์ บางรายไข่ไม่สามารถฝังตัวที่มดลูกได้ ก็ทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์
ผู้หญิง มีสิทธิ์ที่จะมีความเสี่ยงของภาวะการมีบุตรยาก
สาเหตุที่ภาวะการมีบุตรยากนั้นมุ่งประเด็นไปที่ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะปกติแล้วผู้ชายจะผลิตอสุจิเป็นประจำทุกวัน แต่สำหรับผู้หญิงนั้นจำนวนไข่ที่ผลิตออกมาจากรังไข่ถูกกำหนดตายตัวมาตั้งแต่เกิดแล้ว และจะมีการตกไข่ออกมาเดือนละใบไปเรื่อยๆ โดยในระหว่างช่วงเวลาที่ผ่านมาคนเราจะผ่านสิ่งแวดล้อม รังสี และสารอาหารต่างๆ ที่มากระทบ รังไข่ก็จะมีการเสื่อมคุณภาพ ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะได้ไข่สมบูรณ์ก็น้อยลง การมีบุตรก็จะยากขึ้นตามไปด้วย
สำหรับสาเหตุและโอกาสที่ผู้หญิงที่ไม่มีไข่ตกมีบ้างหรือไม่ ในทางการแพทย์ตอบได้ว่า มี และเป็นปัจจัยที่พบได้ใน 30% ของผู้ที่มีบุตรยาก โดยมีสาเหตุจากฝ่ายหญิง ถ้าไข่ไม่ตกระดับฮอร์โมนไม่สมาเสมอ สังเกตได้จากการที่ผู้หญิงคนนั้นมีประจำเดือนไม่เป็นรอบ มีกระปริดกระปอย นี่จะเป็นอาการหนึ่งที่ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนได้เลยว่าผู้หญิงรายนั้นอาจจะมีปัญหาเรื่องของไข่ได้ และนอกจากนั้นในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ปริมาณไขมันในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนเพศในร่ายการก็จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจุดนี้จะมีฤทธิ์ไปต่อต้านและยับยั้งการสร้างฮอร์โมนโดยปกติ ทำให้การตกไข่ไม่สมบูรณ์ ตลอดจนมีปัญหาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกผิดที่ ซึ่งพบได้มากขึ้น โดยจะมีอาการแสดงให้เห็นคือ การปวดประจำเดือน ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ นี่ก็เป็นสาเหตุให้มีบุตรยากได้ด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับอาการอื่นๆ ที่บ่งบอกได้ว่า คู่สามีภรรยานั้นอาจจะตกอยู่ในกลุ่มของผู้มีบุตรยาก ในขั้นแรกคือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ (ส่วนสูง-110) โดยเฉพาะในฝ่ายหญิง อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญคือ สังเกตประจำเดือนว่ามาสม่ำเสมอดีหรือไม่ ปริมาณของประจำเดือนมีความสม่ำเสมอหรือไม่ เช่น ไม่มากบ้าง น้อยบ้าง และสุดท้าย ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการปวดประจำเดือน ถ้าปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขึ้นต้องฉีดยา อาการพวกนี้ ทำให้เราสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่า เราอาจจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มมีบุตรยากได้ นอกจากนี้ยังมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีก คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุ่มนี้ก็จะมีความเสี่ยงสูงในสภาวะการบุตรยากด้วยเช่นเดียวกัน
การป้องกัน และเตรียมการล่วงหน้า หากเปิดปัญหาภาวะการมีบุตรยาก
ถ้ารู้ตัวล่วงหน้าว่ามีความเสี่ยง เราสามารถป้องกันหรือเตรียมการล่วงหน้าได้ เพราะในปัจจุบันจะมีการแนะนำคู่สมรสก่อนแต่งงาน หรือมีการปรึกษาแพทย์ล่วงหน้าในกรณีที่ต้องการมีบุตร ให้วางแผนโดยการไปพบแพทย์ทางด้านสูตินารี เพื่อขอคำปรึกษาและรับการตรวจร่างกาย ตรวจโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก รวมไปถึงโรคที่มีความเสี่ยงต่อการที่จะทำให้ทารกที่เกิดมามีความพิการ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจเลือด ส่วนผู้ชายจะตรวจน้ำอสุจิ ซึ่งจะมีเกณฑ์มาตรฐานอยู่แล้ว เช่นว่า น้ำอสุจิ ควรจะมีปริมาณ 2.5-5 ซีซีต่อครั้ง มีปริมาณอสุจิมากกว่า20 ล้านตัวต่อซีซี รูปร่างปกติมากกว่า 60% การเคลื่อนไหวมากกว่า 60% ซึ่งค่าใช้จ่ายในการตรวจนั้น ไม่มากอย่างที่คิดโดยจะอยู่ที่ประมาณ 2,000-3,000 บาท
การแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก
ภาวะการมีบุตรยาก นั้น สามารถแก้ไขและทำได้สำเร็จในบางกรณีเท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้ว ประมาณ 60-70% ที่พอทราบสาเหตุ แพทย์จะแก้ไปตามสาเหตุ และมักจะประสบความสำเร็จทุกรายไป แต่อีกประมาณ 40% ที่เหลือนั้นมักจะมีหลายสาเหตุ หลายปัจจัยประกอบกัน ทำให้ลำบากยิ่งขึ้นในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก
วิธีการรักษาภาวะการมีบุตรยาก
ลำดับการรักษาอย่างแรกเราต้องดูก่อนว่าปัญหาเกิดจากฝ่ายไหนก่อน หากว่าเกิดในฝ่ายชาย แพทย์จะตรวจเชื้ออสุจิ ถ้าตรวจแล้วผ่านตามเกณฑ์ แพทย์จะข้ามมาดูที่ฝ่ายหญิง ซึ่งในการแก้ไขปัญหามีหลายระดับ
- ในกรณีที่ทั้งคู่ได้รับการตรวจแล้ว ไม่พบความผิดปกติเลย เราจะกำหนดวันไข่ตกให้ และแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์กันในวันไข่ตก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้การตรวจวัดไข่ด้วยอัลตร้าซาวน์ ซึ่งให้ผลที่แน่นอน และไม่ก่อให้เกิดความเครียดจากการที่คู่สมรสต้องมาคอยวัดอุณหภูมิ เพียงเท่านี้ก็มักจะแก้ไขปัญหาได้ แต่ก็จะมีบางครั้งที่เกิดความซับซ้อนขึ้นมามากกว่านั้น คือท่อจับไข่ไม่ได้ กรณีนี้อาจจะมีการฉีดเชื้ออสุจิให้โดยก่อนหน้าที่ฝ่ายหญิงจะไข่ตกแพทย์จะนัดฝ่ายชายมาเก็บเชื้ออสุจิ และคัดตัวที่แข็งแรงไว้ จุดนี้จะช่วยแก้ปัญหาการที่ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิน้อยเกินไปได้ด้วย ซึ่งสองขั้นตอนนี้เป็นการรักษาที่ง่าย สะดวกและค่าใช้จ่ายต่ำ ให้ผลสำเร็จสูง แต่ถ้าผ่านการฉีดเชื้อ 3 ครั้งขึ้นไปแล้วยังไม่สำเร็จก็จะขยับขึ้นไปใช้วิธีที่สูงกว่านั้น ที่เรียกว่า กิฟต์ และ เด็กหลอดแก้ว
- ในขั้นที่ต้องทำ กิฟต์ จะเป็นการกระตุ้นให้มีการตกไข่หลายๆ ใบ จากนั้นจะเก็บไข่พร้อมๆ กับเชื้ออสุจิ ฉีดเข้ามาบริเวณท่อ ซึ่งจะต้องมีการเจาะช่องท้อง มีการผ่าตัดเกิดขึ้นซึ่งผลสำเร็จของการทำกิฟต์นี้ อยู่ที่ 30% แต่แพทย์จะมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ากว่านั้น คือจะแนะนำให้มี การทำเด็กหลอดแก้ว โดยวิธีคือ การเก็บไข่ เก็บเชื้อมาผสมข้างนอก จะเลี้ยงตัวอ่อนข้างนอกจนได้ตัวอ่อนตามที่กำหนดแล้ว จึงใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก จะไม่มีการผ่าตัด แต่เป็นการใส่ตัวอ่อนเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งวิธีนี้อัตราการตั้งครรภ์จะเพิ่มเป็น 30-35% ส่วนค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างกันมากคือประมาณแสนกว่าบาทต่อ 1 รอบ หรือแล้วแต่โรงพยาบาล
- บลาสโตซิส คัลเจอร์ เป็นการเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึงระยะสุดท้าย ก่อนที่จะฝังตัวเป็นเด็กคือประมาณ 5 วัน ตรงนี้จะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สูงกว่า 50% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายโดยรวมไม่ต่างกันมากคือระดับแสนต้นๆ และเป็นวิธีการที่ไม่เจ็บตัว หรือแล้วแต่โรงพยาบาล และแพทย์ผู้ชำนาญการ
สถานที่ ที่แก้ไขปัญหามีบุตรยาก
จะมีทั้ง ร.พ.เอกชน และสถาบันการแพทย์ใหญ่ๆ ของทางราชการที่เป็นโรงเรียนแพทย์ เช่น รามา จุฬา ศิริราช โดยราคาที่กล่าวไว้นั้น เป็นราคาของ ร.พ.เอกชน ซึ่งถ้าหากเข้ารับการรักษาตามโรงเรียนแพทย์ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่านี้
ข้อสอบถามอื่นๆ เกี่ยวกับ ภาวะการมีบุตรยาก
- กรณีกระตุ้นไข่ให้ตกมากกว่า 1 ใบมีอันตรายหรือไม่
ปกติแล้วการกระตุ้นเพื่อให้ไข้ ตกด้วยการให้ยารับประทานนั้น จะทำให้ไข่ตก 3-4 ใบ สำหรับการฉีดเชื้อ แต่สำหรับเทคโนโลยีขั้นสูง คือกิฟต์ เด็กหลอดแก้ว และบลาสโตซิส จะใช้การกระตุ้นด้วยการฉีดยา ซึ่งจะทำให้ไข่ตก 8-10 ใบ ปริมาณเหล่านี้ ถ้าอยู่ในความดูแลของแพทย์จะไม่เกิดอันตรายใด ๆ อีกทั้งจะไม่มีผลระยะยาวต่อเนื่องกับสุขภาพของฝ่ายหญิงด้วย ซึ่งวีธีการนี้เป็นการสร้างโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้นเท่านั้น
- กรณีของการเกิดเด็กแฝดจากการแก้ไขภาวะมีบุตรยาก
มีโอกาสเกิดได้ แต่โอกาสไม่สูง เพราะคนกลุ่มนี้ จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีบุตรยากอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่เราผสมข้างนอก อย่างเด็กหลอดแก้ว หรือบลาสโตซิสนี้ เราเลือกใส่ได้ ตามจำนวนที่คู่สมรสต้องการ
- มดลูกคว่ำทำให้มีลูกยาก
มดลูกคว่ำนั้นเป็นเพียงปัจจัยประการหนึ่งเท่านั้น ที่ทำให้มีบุตรยาก แต่โดยหลักแล้วปัญหาเรื่องท่าของมดลูกไม่มีผลอะไร ถ้าหากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงถึงจุดสุดยอดขณะที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะจะมีการหลั่งของน้ำเมือกออกมาจากมดลูกของฝ่ายหญิงปริมาณจำนวนมาก เมื่อเชื้ออสุจิฉีดเข้าไปที่เมือก เมือกจะเป็นตัวพาให้อสุจิเคลื่อนเข้าไปในตัวโพรงมดลูก ในท่อ เพื่อไปพบกับไข่ได้ นี่เป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าการที่ตัวมดลูกงอ
อ้างอิงข้อมูลจาก นพ.พูนศักดิ์ สุชนวานิช สูติ-นรีแพทย์
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
ลดและควบคุมน้ำหนัก
อ้วนกับอาหารว่าง
เคยรู้หรือไม่ว่า อาหารว่าง หรือ Snack ต่างกับมื้ออาหาร Meal อย่างไร เชื่อแน่ว่าหลายคนยังคงสับสนอยู่ แต่ถึงแม้ว่าจะรู้แต่ก็ยังคงปฏิบัติเสมือนหนึ่งว่าเป็นมื้ออาหาร
ลดและควบคุมน้ำหนัก
เคล็ดลับลดน้ำหนักแบบไม่ต้องอดอาหาร
วิธีการลดน้ำหนักสำหรับคนขี้เกียจ ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องวุ่นวายทรมานร่างกายเหมือนวิธีอื่นๆ แต่ข้อจำกัดคือการควบคุมตัวเอง
เคล็ดลับสุขภาพดี
เคล็ดลับการดูแลสุขภาพ
ก่อนหน้านั้นได้บอกเรื่องของการดูแลสุขภาพการกิน เกี่ยวกับอาหารเช้าไปบ้าง บางส่วนแล้ว
โรคภัยไข้เจ็บ
อาการปวดฉี่บ่อย โรค OAB
ในทางการแพทย์เผยอาการปวดปัสสาวะบ่อยเกินไปนั้น ถือเป็นโรคอย่างหนึ่งผู้ที่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ ทุกชั่วโมง เวลาปวดมักจะมีอาการรุนแรงมาก
เคล็ดลับสุขภาพดี
Mesothelioma Lawsuit Defendants
Malignant mesothelioma lawsuits fall into the category of asbestos litigation and have been on the
เคล็ดลับสุขภาพดี
ทุเรียนเทศต้านมะเร็ง
ทุเรียนเทศ ฝรั่งต่างชาติจะรู้จักในชื่อ Sour Sop ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองในประเทศฟิลิปปินส์ แต่ในเมืองไทยรู้จักกันในชื่อ ทุเรียนน้ำ