ขึ้นชื่อว่า มะเร็ง ก็ไม่มีใครอยากเป็นและไม่มีใครอยากจะพบเจอ แต่ในยุคปัจจุบันนั้น ความเสี่ยงทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตในแบบประจำวันของสังคมเมือง

รูปแบบวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงให้ต้องเร่งรีบ สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ยังผลให้โรคภัยไข้เจ็บและเชื้อโรคมีการเกิดขึ้นใหม่ๆ แทบทุกวัน อีกทั้งพฤติกรรมการกินก็มีผลตามไปด้วย จึงทำให้โรคมะเร็ง เป็นโรคที่คร่าชีวิตของผู้คนบนโลกไปเป็นอันดับต้นๆ โรคหนึ่งเลยทีเดียว

โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแพทย์ระบุว่าพฤติกรรมการทานอาหารเป็นปัจจัยเสี่ยง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ แนะนำให้ผู้หญิงอายุเกิน 20 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานด้านศัลยกรรม ผู้ดูแลคลินิกเต้านม แห่งโรงพยาบาลวิภาวดี เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มะเร็งเต้านมเป็นภัยร้ายที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียชีวิตที่สำคัญของผู้หญิง ด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 9 ของผู้หญิงทั้งหมด พบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุร้อยละ 30 เกิดจากพันธุกรรม หรือคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็ง ทั้งที่เต้านม, มดลูก, รังไข่หรือลำไส้ใหญ่ อาการปวดเต้านมที่ผิดปตก หรืออาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ อาทิ เด็กสาวที่มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว หรือหญิงสูงวัยที่ประจำเดือนหมดช้า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การใช้ฮอร์โมนในเพศหญิงมากเกินไป เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ ผู้มีบุตรช้าหรือไม่มีบุตร

การตรวจดูแลเต้านมเป็นประจำ เพื่อเช็กความเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้น สามารถทำได้เองง่าย ๆ คือ การตรวจด้วยตนเอง ซึ่งระยะเวลาในการตรวจที่เหมาะสมคือ ช่วงหลังหมดประจำเดือนประมาณ 7-10 วัน

ซึ่งนอกจากการตรวจ ดูแลเบื้องต้นด้วยตนเองแล้ว การมาพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด ด้วยเครื่อง Mammography เป็นวิธีการตรวจที่ให้ผลค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งเมื่อได้ตรวจครั้งแรกแล้ว แพทย์จะเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบสำหรับครั้งต่อไปถึงความเปลี่ยนแปลง ส่วนการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ ช่วงที่หลังประจำเดือนหมด 7-10 วันเช่นเดียวกัน

ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการหลีกเลี่ยงจากมะเร็งเต้านม นพ.ธเนศให้คำแนะนำว่า ไม่ยากเลยที่เราจะเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการทานอาหารของตัวเราเอง เช่น ลดอาหารเนื้อแดง ลดอาหารมัน ลดเกลือ ควรเลือกรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ ผักต้านมะเร็งส่วนใหญ่มีสรรพคุณดีอยู่แล้ว การควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วนเกินไป หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเว้นการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมกันนี้ควรทำการตรวจเต้านมเป็นประจำ

หากมีอาการปวดเต้านมอย่านิ่งนอนใจ สามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนด้วยตัวเองเดือนละครั้ง สำหรับผู้ที่มีอายุ 20-35 ปีควรตรวจเต้านมด้วยแพทย์ทุกๆ 3 ปี ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีควรตรวจเป็นประจำทุกปี

เหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนและลดระดับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูลจาก health.kapook.com

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับสุขภาพดี

Bad On the Beach Holiday Krabi

อีกไม่กี่วันนี้ (30/06/2011) จำเป็นต้องบินด่วนไปอย่างเร็ว จริงๆ หากว่าสูดหายใจลึกๆ แล้วใจเย็นซัดหน่อย ตั้งสติให้ดี

เคล็ดลับผิวสวยใส

รู้ทันแสงแดด เพื่อใช้ครีมกันแดด ป้องกัน

เมื่อเอ่ยถึง ครีมกันแดด หลายคนก็จะรู้จักโดยเฉพาะผู้ที่ดูแลผิวเป็นอย่างดีมักจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

เคล็ดลับความงาม

เคล็ดลับ สุขภาพ ความงาม ผิวพรรณ ของผู้หญิง

วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่อง เคล็ดลับสุขภาพ กับความงามของผิวพรรณสาวๆ ที่เอิบอิ่ม และเคล็ดไม่ลับสำหรับการดูแลผิวให้สวยใสไร้ที่ติกันเลยทีเดียวเชียว

ปัญหาหนังศีรษะ

Classic Bob Back View Hairstyle Stacked Haircut

This hair style have any specific hair cutting practice like the layered bob haircuts,

เคล็ดลับความงาม

การแก้ปัญหา ถุงใต้ตาบวม

ในบรรดาสาวที่น่ารักอย่างเราๆ นั้นเรื่องความสวยความงามต้องมาเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะปัญหาขอบตาบวมช้ำ

โรคภัยไข้เจ็บ

เจ็บแน่นหน้าอก โรคหัวใจขาดเลือด

หลายครั้งหลายหน ในการใช้ชีวิตแบบปกติธรรมดา อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ