โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แม้แต่หมอก็แนะนำ ให้สำรวจตัวเองบ่อย ๆ

ไม่นานมานี้ นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้โดยเฉพาะ ว่าเป็นโรคมะเร็ง ที่พบบ่อยในคนไทย และพบได้ทุกช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับชนิดที่เจอ และแต่ละปีก็จะตรวจเจอแล้วประมาณ 3,000-4,000 คน

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่เกิดกับต่อมน้ำเหลืองนี้ เกิดได้ทุกบริเวณทั่วร่างกาย โดยเฉพาะ รักแร้ คอ ขาหนีบ ตามข้อพับ ในช่องอก และช่องท้อง นอกจากนั้นแล้ว เซลล์ต่อมน้ำเหลือง ก็ยังมีในทุกอวัยวะของร่างกาย จึงสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้แทบจะทุกอวัยวะ แต่ที่เจอบ่อยคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง บริเวณลำไส้ และในสมอง แต่ใช่ว่าบริเวณอื่นจะเจอน้อย มีโอกาสเจอพอ ๆ กัน

พญ.ศศินิภา ตรีทิเพนทร์ ตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคเลือด จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น แบ่งประเภทออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

1.มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin lymphoma) ผู้ป่วยมักจะมีต่อมน้ำเหลืองโต บริเวณ คอและช่องอก ให้การรักษาโดยการใช้ ยา เคมีบำบัด ร่วมกับการฉายแสง โอกาสหายขาดสูง

2.มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-hodgkin lymphoma) ชนิดนี้จะพบมาก และแบ่งย่อยออกได้อีก ประมาณ 30 ชนิด แต่แบ่งตามลักษณะการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อีก คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดรุนแรง (Aggressive lymphoma) โดยจะแพร่กระจาย และเกิดได้อย่างรวดเร็ว มีอาการรุนแรง จึงตอบสนองกับยาเคมีบำบัด ซึ่งออกฤทธิ์กับเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวเร็วอยู่ค่อนข้างดี สำหรับกลุ่มนี้ แพทย์แนะนำว่า หากตรวจพบ ต้องรักษาทันที หากไม่รักษา ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตในเวลาเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี แต่ถ้าได้รับการรักษาทันท่วงที มีโอกาสหายขาดจากโรคได้มาก แม้จะอยู่ในระยะไหนก็ตาม

3.มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent lymphoma) การแบ่งตัวและแพร่กระจายค่อนข้างช้า อาการเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่รุนแรง แต่เรื้อรัง กลุ่มนี้มักไม่ค่อยหายขาดด้วยเคมีบำบัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ และติดตามอาการเป็นระยะ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คนไทยเป็นบ่อยต้องระวัง

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุนั้น เกิดได้จากทั้งการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอชไอวี (HIV), ไวรัสเอชซีวี (HCV), ไวรัสอีบีวี (EBV) และการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง, พันธุกรรม, ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำจากการได้รับยา, สารเคมีที่มีสารก่อมะเร็งอยู่ เช่น สารกำจัดศัตรูพืช

ดังนั้นการป้องกันของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จึงทำได้โดยการหมั่นสังเกตตัวเอง ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากเจ็บป่วยให้รีบไปรักษา หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรง และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

พญ.ศศินิภา ได้ให้ข้อมูลว่า ส่วนใหญ่จะมีอาการทางระบบ หรือ B-symptom เช่น อาการไข้ที่ไม่ทราบสาเหตุ เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์, เหงื่อออกตอนกลางคืน, น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเบื่ออาหารผิดปกติ อาการเฉพาะที่ ที่เกิดจากต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณนั้น ๆ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดแน่นท้อง ท้องอืด ปวดศีรษะ

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ปัจจุบันให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับยาพุ่งเป้า (Targeted therapy) ที่เริ่มมีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้มากขึ้นในปัจจุบัน ฉายแสงในบางกรณี และการปลูกถ่ายไขกระดูกในเคสที่กลับเป็นซ้ำ นอกจากนี้ ยังมีวิธีการรักษาใหม่สำหรับโรคที่กลับเป็นซ้ำด้วยการใช้เซลล์บำบัด (CAR-T cell) ซึ่งยังอยู่ในช่วงการศึกษาวิจัยในประเทศไทย

อ้างอิงข้อมูล ความรู้ ข่าวสารด้านโรคมะเร็ง ที่
allaboutcancer.nci.go.th/ เว็บไซต์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง
thaicancernews.nci.go.th/_v2/ และไลน์: NCI รู้สู้มะเร็ง

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับผิวสวยใส

เคล็ดลับ ผิวขาวสวย ใส สุขภาพดี

ความสวยกับความขาวใส ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ดูดีมีเปรียบกว่าสาวในลักษณะอื่น แม้ว่าหน้าตาจะดูบ้านๆ แต่หาก ผิวสวยใส แล้วล่ะก็

เคล็ดลับสุขภาพดี

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพ

ก่อนหน้านั้นได้บอกเรื่องของการดูแลสุขภาพการกิน เกี่ยวกับอาหารเช้าไปบ้าง บางส่วนแล้ว

เคล็ดลับผิวสวยใส

ครีม VEET ผลิตภัณฑ์ สำหรับกำจัดขน รักษาผิว ขาวสวย ใส

มาว่ากันด้วยเรื่อง ผลิตภัณฑ์กำจัดขน กันดีกว่า ยอดนิยมในปัจจุบันนี้จะไปไหนเสีย นอกจาก ครีม VEET ครีม กำจัด ขน แท้ และ เทียม

เคล็ดลับผิวสวยใส

วิธี ป้องกันผิวแห้ง ในหน้าหนาว

หน้าหนาวใครๆ ก็แต่งตัวสวยดูดี แปลงเนาะ ประเทศไทยเราเองหน้าร้อนสาวๆ นุ่งสั้น นุ่งน้อยห่มน้อย ก็น่ารักไปอีกแบบ

ใส่ใจดูแลเท้า

เลือกรองเท้า ให้เหมาะกับเท้า

เท้า ใครว่าไม่สำคัญ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ใกล้ตัวเราและสำคัญไม่แพ้กัน แถมยังช่วยปกป้องเท้าของคุณก็คือ รองเท้า

ลดและควบคุมน้ำหนัก

สุขภาพกับเส้นรอบเอว

ผู้หญิงส่วนใหญ่เน้นการมีรูปร่างที่กระชับได้สัดส่วน โดยเฉพาะเส้นรอบวงเอว และที่สำคัญนั้นผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอวมากกว่า 31.5 นิ้ว หรือตั้งแต่ 80 เซนติเมตร มีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ มากมาย