เรามักพบว่าในท้องตลาดทั่วไปจะมีผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายที่วางจำหน่ายอยู่นั้น บางรายการอาหารในชีวิตประจำวัน
มีการเพิ่มหรือเสริมสารอาหารเพื่อคุณค่าแก่ร่างกายลงไป โดยที่ผู้ผลิตจะระบุหรือแสดงรายการว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นได้ถูกเพิ่มหรือเสริมสารอาหารอะไรลงไปบ้างไว้บนฉลากข้างขวด ซึ่งหากผู้บริโภคได้อ่านฉลากก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ก็จะทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้มีการเพิ่มสารอาหารอะไรลงไปบ้าง มีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นความเคยชิน ที่ผู้บริโภคจะไม่ทราบว่ามีการเพิ่มสารอาหารลงไปในผลิตภัณฑ์ที่ตนเองนำไปบริโภค จนกว่าจะได้เริ่มหันไปดูฉลากอีกครั้ง
ปัญหาใหญ่จึงเกิดขึ้น เนื่องจากสาเหตุที่มาจากความเคยชินของผู้บริโภคเอง ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการอ่านฉลากรายละเอียดข้างขวดเวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งปกติแล้วผลิตภัณฑ์ที่มักจะมีการเพิ่มสารอาหารและมีการวางจำหน่ายทั่วไปนั้นมักพบได้ง่าย เช่น
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งจะเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน และวิตามินเอ ลงไปในผลิตภัณฑ์
- นมข้นหวาน มักจะเสริมวิตามินเอ เกลือป่น ไอโอดีน
- นมผง จะเพิ่มหรือเสริมสารธาตุเหล็ก แคลเซียม
- น้ำมันหอย เสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน
- ฯลฯ
การเพิ่มหรือเสริมสารอาหารนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตต้องการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ตนผลิตให้ดูดี หรือมีคุณค่ามากกว่าคู่แข่งขัน หรือเพื่อในทางการค้า โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแนวคิดในการเพิ่มสารอาหารลงในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารของประชาชน
โดยต้องการให้สารอาหารที่เพิ่มหรือเสริมเข้าไปนั้นก่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้เครื่องหมายรับรองอาหารเพิ่มสารอาหารหรือ Nutrition Seal จึงิกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของประชาชนนั่นเอง
ปัญหาการขาดสารอาหาร
แม้ว่าในประเทศไทยเองไม่ได้เป็นประเทศที่มีผู้ขาดสารอาหารติดอันดับโลก แต่ก็มีหลายพื้นที่ ที่มีประชาชนมีภาวะโภคชนการเกิน จนทำให้ประชากรเกิดเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งชนิดต่างๆ มากขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี แต่กลับกัน โรคขาดสารอาหารซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยยังไม่หมด แต่ไม่รุนแรงเหมือนในอดีต ซึ่งในปัจจุบันปัญหาการขาดสารอาหารที่พบมากในคนไทยและคนทั่วโลกได้แก่
- การขาดวิตามินเอ มีผลทำให้มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน มีภูมิต้านทานต่ำ หากขาดในปริมาณมากอาจทำให้ตาบอดได้ง่าย
- โรคขาดธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เฉื่อยชา ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ช้า ซีด
- โรคขาดไอโอดีน ทำให้เป็นโรคคอพอก สติปัญญาไม่ดีจนเป็นโรคปัญญาอ่อน แม้ว่าปัจจุบันจะไม่รุนแรงมากแต่ก็ยังมีพบอยู่บางแห่งในประเทศไทย
ดังนั้นแล้วการบริโภคอาหารหลายๆ อย่าง ผู้บริโภคเองจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสม หากร่างกายได้รับสารอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้มากกว่าการขาดสารอาหาร แต่ผลเสียของการขาดสารอาหารก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการมีโภชนาการเกิน
อ้างอิง gourmet & cuisine
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับสุขภาพดี
ปลาทู ก็มี โอเมก้า 3
โอเมก้า 3 ที่มีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายช่วยบำรุงสมองให้ความจำดีและคุณประโยชน์อีกหลายอย่าง
เคล็ดลับสุขภาพดี
เคล็ดลับการดูแลสุขภาพ
ก่อนหน้านั้นได้บอกเรื่องของการดูแลสุขภาพการกิน เกี่ยวกับอาหารเช้าไปบ้าง บางส่วนแล้ว
เคล็ดลับสุขภาพดี
ผู้หญิงที่ลดการกินเนื้อ อายุจะยืนยาว
เค้าว่ากันว่า การกินเนื้อ จะทำให้อายุสั้น ช่วงก่อนปี 2010 นั้นยังไม่มีผลวิจัยต่อสุขภาพของผู้หญิงมากนักในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริโภค
ลดและควบคุมน้ำหนัก
เมนูลดอ้วน เพื่อหุ่นสวย
อาหารหลายๆ อย่างที่เราๆ รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้อิ่มท้องและสามารถที่จะแปรเปลี่ยนอาหารที่รับประทานเข้าไป เป็นพลังงานเพื่อใช้ดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละวัน
โรคภัยไข้เจ็บ
การดูแลผู้ป่วยที่เป็น โรคหัวใจขาดเลือด
ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้น มักแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย
โรคภัยไข้เจ็บ
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด