ขึ้นชื่อว่า มะเร็ง ก็ไม่มีใครอยากเป็นและไม่มีใครอยากจะพบเจอ แต่ในยุคปัจจุบันนั้น ความเสี่ยงทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตในแบบประจำวันของสังคมเมือง

รูปแบบวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงให้ต้องเร่งรีบ สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ยังผลให้โรคภัยไข้เจ็บและเชื้อโรคมีการเกิดขึ้นใหม่ๆ แทบทุกวัน อีกทั้งพฤติกรรมการกินก็มีผลตามไปด้วย จึงทำให้โรคมะเร็ง เป็นโรคที่คร่าชีวิตของผู้คนบนโลกไปเป็นอันดับต้นๆ โรคหนึ่งเลยทีเดียว

โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแพทย์ระบุว่าพฤติกรรมการทานอาหารเป็นปัจจัยเสี่ยง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ แนะนำให้ผู้หญิงอายุเกิน 20 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานด้านศัลยกรรม ผู้ดูแลคลินิกเต้านม แห่งโรงพยาบาลวิภาวดี เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มะเร็งเต้านมเป็นภัยร้ายที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียชีวิตที่สำคัญของผู้หญิง ด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 9 ของผู้หญิงทั้งหมด พบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุร้อยละ 30 เกิดจากพันธุกรรม หรือคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็ง ทั้งที่เต้านม, มดลูก, รังไข่หรือลำไส้ใหญ่ อาการปวดเต้านมที่ผิดปตก หรืออาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ อาทิ เด็กสาวที่มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว หรือหญิงสูงวัยที่ประจำเดือนหมดช้า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การใช้ฮอร์โมนในเพศหญิงมากเกินไป เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ ผู้มีบุตรช้าหรือไม่มีบุตร

การตรวจดูแลเต้านมเป็นประจำ เพื่อเช็กความเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้น สามารถทำได้เองง่าย ๆ คือ การตรวจด้วยตนเอง ซึ่งระยะเวลาในการตรวจที่เหมาะสมคือ ช่วงหลังหมดประจำเดือนประมาณ 7-10 วัน

ซึ่งนอกจากการตรวจ ดูแลเบื้องต้นด้วยตนเองแล้ว การมาพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด ด้วยเครื่อง Mammography เป็นวิธีการตรวจที่ให้ผลค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งเมื่อได้ตรวจครั้งแรกแล้ว แพทย์จะเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบสำหรับครั้งต่อไปถึงความเปลี่ยนแปลง ส่วนการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ ช่วงที่หลังประจำเดือนหมด 7-10 วันเช่นเดียวกัน

ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการหลีกเลี่ยงจากมะเร็งเต้านม นพ.ธเนศให้คำแนะนำว่า ไม่ยากเลยที่เราจะเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการทานอาหารของตัวเราเอง เช่น ลดอาหารเนื้อแดง ลดอาหารมัน ลดเกลือ ควรเลือกรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ ผักต้านมะเร็งส่วนใหญ่มีสรรพคุณดีอยู่แล้ว การควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วนเกินไป หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเว้นการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมกันนี้ควรทำการตรวจเต้านมเป็นประจำ

หากมีอาการปวดเต้านมอย่านิ่งนอนใจ สามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนด้วยตัวเองเดือนละครั้ง สำหรับผู้ที่มีอายุ 20-35 ปีควรตรวจเต้านมด้วยแพทย์ทุกๆ 3 ปี ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีควรตรวจเป็นประจำทุกปี

เหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนและลดระดับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูลจาก health.kapook.com

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

โรคภัยไข้เจ็บ

ปวดหัวเรื้อรัง ต้นเหตุของ โรคเนื้องอกในสมอง

โรคเนื้องอกในสมอง เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ แม้จะไม่มากเท่ากับโรคมะเร็งชนิดต่างๆ แต่นั่นก็สามารถคร่าชีวิตของผู้ป่วยได้

เคล็ดลับความงาม

รักษาสุขภาพเชิงรุกด้วยข้าวกล้อง

ข้าวกล้อง มีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง การบริโภคข้าวกล้องนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกของการดูแลรักษาสุขภาพเชิงรุก ซึ่งหมายถึงการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอโดยไม่ต้องรอให้เจ็บป่วย

เคล็ดลับผิวสวยใส

sun blocking fabric ครีมกันแดด

sun blocking fabric ประโยชน์ของครีมกันแดดที่หลายคนทราบก็คือ ช่วยปกป้องการทำลายเซลล์ผิวหนัง

โรคภัยไข้เจ็บ

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อันตราย

หากคุณกำลังรู้สึกว่ามีอาการวิงเวียน เวลาจะทำอะไรแล้วรู้สึกว่าโลกหมุนได้ทั้งใบ ทั้งๆ ที่ยังหลับตา หรือในขณะลืมตาก็ยังรู้สึก วิงเวียนหน้ามืด

เคล็ดลับความงาม

มหัศจรรย์ น้ำมันมะกอก

เคล็ดลับความงาม และการมีสุขภาพดีได้นานนับพันๆ ปีของคนในแถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนนั้น อย่างหนึ่งที่สำคัญคือการรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำ

โรคภัยไข้เจ็บ

แคลเซียมกับ โรคกระดูกพรุน

ในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ โรคกระดูกพรุน หรือ ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไปเป็นอย่างมาก