โรคที่มากับน้ำท่วมและไม่ท่วม ส่วนใหญ่แล้วในเมืองไทยมักพบบ่อยตามต่างจังหวัด แต่พอน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ โรคชนิดนี้กลับมีการแพร่ระบาดในเมืองหลวง

ทั้งๆ ที่น่าจะเป็นแหล่งแพร่ระบาดในต่างจังหวัด บางโรคที่ปกติไม่พบมากนัก ก็อาจพบอย่างแพร่หลายมากขึ้นเป็นอย่างมาก หนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ โรคเลปโตสไปโรซิส Leptospirosis หรือที่ชาวบ้านคุ้นเคยกันดีกว่าในชื่อ โรคฉี่หนู นั่นเอง

โรคฉี่หนู เป็นโรคระบาดในคนที่ติดต่อมาจากสัตว์ มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โรคนี้พบได้ทั่วโลก โดยพบอย่างประปรายตลอดปี แต่พบระบาดรุนแรงในฤดูฝน ในประเทศไทย พบระบาดมากในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่น้ำฝนชะล้างเอาเชื้อจากสิ่งแวดล้อม เข้ามารวมกันอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง

ทำให้เชื้อโรคสามารถติดไปกับคนและสัตว์ต่างๆ ที่สัมผัสกับน้ำขังเหล่านั้นในที่สุด แม้ว่าหนูจะเป็นพาหะสำคัญของโรคนี้จนมีผู้นำไปตั้งเป็นชื่อของโรค แต่อันที่จริงแล้ว สัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิดก็เป็นพาหะของโรคนี้ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวัว ควาย หรือสัตว์เลี้ยงใกล้ตัวอย่าง แมว และสุนัข

การติดเชื้อโรคฉี่หนู มักเกิดขึ้นผ่านทางบาดแผลที่เกิดจาการแช่น้ำเป็นเวลานานๆ ผู้ปกครองจึงไม่ควรปล่อยให้เด็กๆ ลงเล่นน้ำ เพราะเสี่ยงติดเชื้อโรคนี้ ซึ่งอาจมีผลร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นอีกหลายปัจจัย ที่ทำให้มีผู้ป่วยโรคฉี่หนูจำนวนมาก

Leptospirosis รู้ สู้ โรค ฉี่หนูการติดต่อของโรคฉี่หนู โดยปกติแล้ว โรคฉี่หนู จะติดต่อกันโดยการสัมผัส เช่น ปัสสาวะ เลือด เนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค และจะติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก โดยเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ดังนี้

  • การกินอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
  • การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือ ของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
  • ผ่านเข้าทางเยื่อเมือก เยื่อบุต่าง ๆ เช่น ตา และปาก
  • ชอนไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผล และรอยขีดข่วน
  • ชอนไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนาน ๆ เช่น ในสภาวะน้ำท่วม

ระยะฟักตัวของโรคฉี่หนูใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์ ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 1 สัปดาห์แรก และหลังจากนั้นอีก 1-3 วัน จะเข้าสู่ระยะที่สอง คือ ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ

Leptospirosis รู้ สู้ โรค ฉี่หนูเป็นโรคฉี่หนู รู้ได้อย่างไร สาเหตุหนี่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคฉี่หนูไม่น้อย อาจเนื่องมาจากอาการของโรค ซึ่งในเบื้องต้นจะคล้ายกับโรคไข้หวัดธรรมดา หรือโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคอื่นๆ เช่น โรคไข้เลือดออก คือ ปวดศีรษะ โดยมักจะปวดบริเวณหน้าผาก หรือบริเวณหลังตา นอกจากนั้น ยังมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บริเวณขาและเอว มีไข้สูงร่วมกับมีอาการหนาวสั่น และอาจมีตาแดง สู้แสงไม่ได้

อาการของโรคที่อธิบายมาข้างต้น ยังทำให้สับสนกับโรคอื่นๆ ที่พบมากในฤดูฝนหรือพบในบริเวณที่ประสบปัญหาน้ำท่วม จึงยิ่งทำให้วินิจฉัยโรคยากขึ้นไปอีก การตรวจวินิจฉัยอย่างแม่นยำในห้องปฏิบัติการ จึงเป็นวิธีการที่ให้ข้อสรุปอย่างชัดเจนได้ว่า ผู้ป่วยติดโรคฉี่หนูแล้วจริงหรือไม่

สำหรับการตรวจว่าเป็นโรคฉี่หนูหรือไม่นั้น ในปัจจุบัน มีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป เช่น วิธีการตรวจหา แอนติเจน (สารซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายคนและสัตว์สร้างภูมิคุ้มกัน) คือ ตัวเชื้อแบคทีเรียโดยตรง ก็เป็นวิธีการที่บอกได้แน่นอนว่า เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้หรือไม่ แต่วิธีนี้มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เวลานาน และมีความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย จึงไม่ค่อยนิยมใช้กันนัก

ปัจจุบันมักใช้ชุดตรวจสอบเลือด ที่อาศัยวิธีการตรวจหา แอนติบอดี (สารในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายคนและสัตว์ต่างๆ สร้างขึ้น เมื่อมีสารแปลกปลอมต่างๆ จากภายนอก ซึ่งรวมทั้งเชื้อโรค หลุดรอดเข้าไปสู่กระแสเลือด) ซึ่งการตรวจสอบแบบนี้ แม้ว่าจะได้ผลการตรวจที่ดีพอสมควร แต่มีข้อจำกัดคือ จะตรวจได้ชัดเจน แม่นยำก็ต่อเมื่อร่างกายแสดงอาการของโรคออกมานานพอสมควรแล้ว เช่น 5-7 วันภายหลังจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด

การวินิจฉัยโรคฉี่หนู ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดกล้ามเนื้อ และเป็นกลุ่มเสี่ยง คือ อยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง เล่นน้ำ หรือย่ำน้ำในช่วงนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อให้ตรวจและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เนื่องจากผู้ป่วยโรคฉี่หนูส่วนใหญ่ที่เสียชีวิต มักจะไม่ได้รับการรักษาโรคฉี่หนูอย่างทันท่วงที เนื่องจากคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา

การรักษาโรคฉี่หนู สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งควรให้ยารักษาโดยเร็วที่สุด ไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ และควรให้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับความงาม

การดูแลรักษาเล็บสวย สุขภาพดี ด้วยโภชนาการ

เล็บ ถึงแม้บางคนจะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ โดยเฉพาะบรรดาผู้ชายไม่ค่อยใส่ใจมากนัก ไม่จำเป็นต้องดูแลสักเท่าไหร่

ใส่ใจดูแลเท้า

รองเท้าส้นสูงช่วยดูแลสุขภาพ

ไปเจอบทความใน live.msn มา เลยนำมาฝากเผื่อว่าจะเป็นทางเลือกสำหรับสาวๆ ที่มีรองเท้าส้นสูงอยู่ในคอเลคชั่นสวย และวิธีการเลือกรองเท้าส้นสูงอย่างไรให้เหมาะกับรูปร่าง และฤดูที่เปลี่ยนแปลง

โรคภัยไข้เจ็บ

แมงลัก กินดีอยู่ดีมีประโยชน์

แมงลัก ใครไม่รู้จักบ้าง รู้ไหมว่ามีประโยชน์มากมายนานาประการเลยทีเดียว เป็นต้นว่าเริ่มตั้งแต่ใบ ลำต้น เมล็ด ราก ฯลฯ เรียกได้ว่าทุกส่วน

ลดและควบคุมน้ำหนัก

ผักสดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

คนปกติจะมี ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ก่อนอาหารไม่เกิน 120 มก.% และระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมงไม่เกิน 160 มก.%

โรคภัยไข้เจ็บ

ไข้เลือดออก ภัยจากยุงลาย

หน้าฝนนี้ คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่หลีกหนียุงไม่พ้น แม้ว่าจะไม่ใช่หน้าฝนก็ยังจะมียุงชุม ยุงแต่ละชนิดก็นำไข้ นำเชื้อโรคมาต่างกัน

เคล็ดลับความงาม

การดูแลผิวสวย สุขภาพดี สมวัย

เคล็ดลับการดูแลผิวให้สวยสมวัยนั้นทำได้ไม่ยาก ปกติแล้วผิวสวยคือสิ่งสำคัญในอันดับแรกที่สาวทุกคนปรารถนา