ตอนนั้นกำลังนั่งทำงานตามปกติเหมือนทุกวัน อยู่ดีๆ ก็รู้สึกใจสั่นแต่คิดว่าคงไม่เป็นอะไรสักพักคงหายไปเอง
เพราะเคยมีอาการแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว พยายามทนอยู่เกือบชั่วโมงหัวใจก็ยังเต้นแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดสักทีจนเริ่มคิดว่าไม่ไหวแล้ว รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน พอไปถึงวัดความดันขณะนั้นได้ 160 คุณหมอให้ติดเครื่อง Holter เป็นเครื่องมือเล็กๆ สำหรับตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 24 ชั่วโมงที่พกติดตัวไปได้และเครื่องก็ทำการบันทึกผลตลอดเวลา ผลที่ได้ปรากฏว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เบื้องต้นคุณหมอให้ยามารับประทาน แต่เนื่องจากเราเป็นโรคลิ้นหัวใจยาวอยู่แล้วจึงทำให้อาการหัวใจเต้นผิดปกติอาจกำเริบได้เสมอและเป็นอยู่บ่อยครั้ง
บางทีขับรถคนเดียวก็มีอาการขึ้นมาหากไม่มีใครอยู่ด้วยจะอันตรายมาก ต่อมาจึงได้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเพราะถ้ามีสัญญาณหัวใจเต้น ผิดปกติขึ้นมาเมื่อไหร่เครื่องจะส่งกระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้กลับมาปกติโดย อัตโนมัติ ตอนนี้จึงคลายความกังวลลงได้บ้างและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติแล้วค่ะ นี่เป็นอาการหัวใจเต้นเร็วเกินไป อาการหัวใจเต้นช้า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดปกติ โรคหัวใจ
ปกติอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่ทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ไม่ควรช้าหรือเร็วเกินกว่านี้มากนัก เมื่อใดเกิดภาวะที่หัวใจเต้นช้าหรือเร็วมากเกินไปหรือเต้นสะดุด เรียกว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการรุนแรงจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพและอาจอันตรายถึงชีวิตได้
อาการที่เกิดกับผู้ป่วยอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล หรือกลัวจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ และบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำว่าอาการทั้งหมดเกิดจากความเครียด และได้รับยาคลายความวิตกกังวล หรือยานอนหลับมารับประทานเป็นระยะเวลานาน แต่อาการของผู้ป่วยกลับไม่ดีขึ้นจนรู้สึกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ป่วยที่การทำงานของหัวใจปกติหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็ได้ ซึ่งอาการหัวใจเต้นช้าหรือเร็วเกินไปจะทำให้ความดันลดลง ส่งผลให้เลือดสูบฉีดไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการมึนงง หวิว วูบ หรือหมดสติร่วมด้วย โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบได้หลายรูปแบบ
อาการหัวใจเต้นผิดปกติ
- หัวใจเต้นช้าเกินไป มีอาการมึนงง หวิว วูบ หมดสติ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือหัวใจเต้นแรงกว่าปกติ
- หัวใจเต้นเร็วแบบมีวงจรลัดไฟฟ้า จะมีอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้นโดยทันที ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เป็นลม
- หัวใจเต้นสะดุด จะมีอาการหัวใจเต้นๆ หยุดๆ ตกวูบ คล้ายตกจากที่สูง หรือมีอาการคล้ายจะเป็นลมและเจ็บหน้าอก
- หัวใจเต้นแบบสั่นพริ้วที่หัวใจช่องบน นอกจากมีอาการใจสั่น ยังอาจทำให้เกิดเป็นอัมพาตได้จากการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจซึ่งถือว่าอันตรายมาก
- หัวใจเต้นแบบสั่นพริ้วที่หัวใจช่องล่าง จะมีความรุนแรงกว่า เพราะหัวใจช่องล่างทำหน้าที่สูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยตรง
หากหัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดออกไปได้เพียงพอ อวัยวะที่จะเป็นอันตรายมากที่สุดคือ สมอง หากไม่ได้รับการช่วยเหลือภายใน 4-5 นาที อาจทำให้เซลล์สมองเสียหายอย่างถาวรกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้
สาเหตุการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มแรกเป็นความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มสองคือการนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และกลุ่มสามคือทั้งสองอย่างร่วมกัน หรืออาจสัมพันธ์กับโรคหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ความดันโลหิตสูง หรือความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งทำให้วินิจฉัยได้ยากเพราะว่าผู้ป่วยไม่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติขณะที่ทำการตรวจ
และนอกจากนั้นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะเกิดจากการกระตุ้นจากสารต่างๆ เช่น กาแฟ ชา แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง การรับประทานยาขยายหลอดลมบ่อยๆ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
พญ.ชาดา โชติพันธุ์วิทยากุล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลเวชธานีได้กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็อาจพบความผิดปกติเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจได้ เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ยาขยายหลอดลม สารคาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือหัวใจถูกกระตุ้นเพราะความแปรปรวนในระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ภาวะเครียด กังวล กลัว คิดมาก
สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นระบบประสาทที่ส่งผลต่อการกระตุ้นหัวใจทำให้ใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหนื่อย หายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจแรง เร็ว และอาจเจ็บหน้าอก อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ออกแรง ขณะคิดมาก เครียด โมโห แต่ถ้าทำงานเพลินๆ หรือออกแรงเล่นกีฬามักจะไม่มีอาการ กรณีนี้การรักษาด้วยยา หรือการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถทำให้หายเป็นปกติได้
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่รักษาจะเป็นอันตรายอย่างไร
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ ทำให้ไม่ตระหนักถึงความสำคัญและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุดคือ หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงถึง 10-15% ต่อปี เนื่องจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจจากการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะจะหลุดออกไปอุดหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้ และภาวะหัวใจอ่อนกำลัง ก็เป็นอีกสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงขึ้นเมื่อพบร่วมกับโรคเบาหวาน และหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
พญ.ชาดา แนะนำทิ้งท้ายถึงวิธีดูแลร่างกายของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะว่า ควรหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้น เร็วผิดปกติ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หรือยากระตุ้นบางชนิดที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนรับประทานยา
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเวชธานี
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
โรคภัยไข้เจ็บ
แคลเซียมกับ โรคกระดูกพรุน
ในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ โรคกระดูกพรุน หรือ ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไปเป็นอย่างมาก
โรคภัยไข้เจ็บ
โภชนาการกับโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia)
เคล็ดลับความงาม
รอบรู้เรื่อง Phytonutrient สารเคมี ในผัก ผลไม้
รู้หรือไม่ ไฟโตนิวเทรียนท์ หรือ Phytonutrient หรือ ไฟโตเคมีคอล Phytochemical หรือเรียกอีกชื่อว่า พฤกษเคมี
สุขภาพเต้านม ทรวงอก
ปรับพฤติกรรมการกิน ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
ขึ้นชื่อว่า มะเร็ง ก็ไม่มีใครอยากเป็นและไม่มีใครอยากจะพบเจอ แต่ในยุคปัจจุบันนั้น ความเสี่ยงทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตในแบบประจำวันของสังคมเมือง
เคล็ดลับความงาม
ชะลอความแก่ด้วย งาม้อน
ในบ้านเรานั้น เริ่มมีการปลูกงาม้อน มานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือ
เคล็ดลับผิวสวยใส
ดูแลผิวอย่างไรให้สวยแบบ แพนเค้ก จากทวิภพ
ลองคิดดูเล่นๆ ว่าแพนเค้ก มีเสน่ห์ยังไง ปฏิเสธไม่ได้ว่าดาราดังคนนี้มีผิวที่สวยขาวใส แถมยังเก่งและมีเสน่ห์อีกหลายอย่าง