โดยปกติแล้ว สันหลังคนเราประกอบด้วยกระดูกสันหลังชิ้นย่อยๆ กว่า 30 ชิ้น เรียงต่อกันเป็นแนวจากต้นคอจรดก้นกบ
และระหว่างกระดูกแต่ละข้อนั้นจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง คั่นกลางทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและเป็นเสมือนโช็คอัพ เพื่อดูดซับและกระจายแรงอัดในการกดกระแทกจากปฏิกิริยาต่างๆ ภายในโพรงกระดูกสันนั้นจะหลังประกอบไปด้วย ไขสันหลัง
และมีเส้นประสาทแยกแขนงจากไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้นสุดที่แยกแขนงออกมาจากไขสันหลังเรียกว่า รากประสาท ซึ่งจะอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก
เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวก็จะกดทับรากประสาทที่ไปเลี้ยงแขนหรือขา ทำให้มีอาการปวดเสียวและชาของแขนหรือขา ส่วนรากประสาทที่ถูกกดทับมักจะพบบ่อยจากการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บหรือบั้นเอว ทำให้มีการกดทับรากประสาทไซอาติก (Sciatic Nerve) ที่ไปเลี้ยงขา
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงจะมีอาการเป็น รากประสาทขาถูกกดทับ
- ผู้ที่ทำงานหนักโดยเฉพาะผู้ที่แบกของหนักเป็นประจำ
- ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือมีแรงกระแทกบริเวณเอว
- ผู้ที่มีอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกเสื่อม
โรคนี้พบได้บ่อยในคนอายุ16-60 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า มักพบในคนที่แบกของหนัก หรือได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหลัง หรือในคนสูงอายุ ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อม
อาการของโรครากประสาทขาถูกกดทับ
ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลันทันที (เช่น หลังจากได้รับบาดเจ็บหรือยกของหนัก) หรือค่อย ๆ เกิดทีละน้อยก็ได้ โดยมีอาการปวดตรงกระเบนเหน็บ ซึ่งจะปวดร้าวลงมาที่สะโพก ต้นขา น่อง และปลายเท้า อาการปวดจะเป็นมากขึ้นภายหลังจากการเดินมาก ๆ และอาจปวดมากเวลาก้ม นั่ง ไอ จาม หรือเบ่งถ่าย ในรายที่เป็นมาก เท้าจะไม่ค่อยมีแรงและชา อาจถ่ายปัสสาวะไม่ได้หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มักพบเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น นอกจากในรายที่เป็นมากอาจมีอาการทั้งสองข้าง ในรายที่มีการกดทับของประสาทในบริเวณคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ และปวดร้าวและชาลงมาที่ไหล่ แขน และปลายมือ มักมีอาการชาเวลาแหงนคอไปด้านหลัง หรือหันศีรษะไปข้างที่เป็น ถ้าเป็นมากแขนและมืออาจมีอาการอ่อนแรง
มีอาการปวดหลังบริเวณบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บร่วมกับอาการปวดร้าวที่ขา ซึ่งจะปวดจากแก้มก้นลงไปที่ต้นขา น่องและปลายเท้า อาจมีอาการปวดร้าวที่ขามักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น นอกจากในรายที่เป็นมากอาจมีอาการทั้งสองข้าง อาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังจากการเดินมากๆ และอาจปวดมากขึ้นเวลาก้ม นั่ง ไอ จามหรือเบ่งถ่าย ซึ่งในกรณีเป็นมาก เท้าจะไม่มีแรงและชา อาจปัสสาวะไม่ได้หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หากปล่อยไว้นานอาจทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงและลีบลง และผู้ป่วยไม่สามารถยกเท้าเหยียดตรงได้ 90 องศา เช่นคนปกติหรือได้น้อยกว่าเท้าอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากรู้สึกปวดเสียวตามหลังเท้าจนทนไม่ได้
การแพทย์จีน กับโรครากประสาทขาถูกกดทับ
การแพทย์จีนได้จัดโรครากประสาทขาถูกกดทับให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก ความเสื่อมตามวัยหรือพิษเย็น-ขึ้นที่สะสมบริเวณเอว ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณติดขัด กีดขวางการไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณจนเกิดอาการปวดขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีนคือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด นอกจากนี้ การไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณบริเวณเอวที่ติดขัดจะทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ พร้อมทั้งไม่สามารถขับพิษเย็น-ชื้น ที่สะสมและสารพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาบอลิซึมออกไปได้หมดสิ้น จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆ บริเวณกระดูกสันหลังขึ้น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด โรครากประสาทขาถูกกดทับ
เกิดจากหมอนรองกระดูก หรือดิสก์ (disk) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่คั่นอยู่ระหว่างข้อต่อกระดูกสันหลังเลื่อนลงไป กดทับรากประสาท (nerve root) ที่ไปเลี้ยงแขนหรือขา ทำให้มีอาการปวดเสียว และชาของแขนหรือขาส่วนนั้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดจากความเสื่อมตามอายุ ส่วนมากมักเกิดตรงบริเวณกระดูกหลัง ทำให้มีการกดทับรากประสาทไซอาติก (sciatic nerve) ที่ไปเลี้ยงขา เรียกว่า “โรคไซอาติคา (Sciatica)” ส่วนน้อยอาจเกิดที่กระดูกคอ ทำให้มีการกดทับรากประสาทบริเวณคอ ทำให้มีอาการปวดเสียวและชาที่แขน
การตรวจวินิจฉัยในรายที่มีการกดทับรากประสาทขา สามารถทำได้โดย การบำบัดและการรักษา โรครากประสาทขาถูกกดทับ ของแพทย์แผนจีน การรักษาโรครากประสาทขาถูกกดทับด้วยยาแก้ปวด ยาลดอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตอรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราว แต่มิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือพิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอักเสบ หรือแผลที่กระเพาะอาหาร พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย การแพทย์จีนจึงนิยมใช้วิธีกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สลายเลือดคั่ง ขับพิษและแก้ปวดบวม เพื่อบำบัดต้นเหตุของโรครากประสาทขาถูกกดทับโดยมีกลไกรักษาสำคัญดังนี้ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สลายเลือดคั่งทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตขนาดเล็ก (Microcirculation) บริเวณกระดูกสันหลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นการขับสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ สารที่ก่อให้เกิดอาการปวด (เช่น สารเบต้าโปรตีน ไกลโคโปรตีนและฮิสตามีน เป็นต้น) รวมทั้งกรดแล็กติกที่สะสมอยู่บริเวณรากประสาทออกไปให้มากขึ้น จึงสามารถลดการระคายเคืองต่อรากประสาทและบรรเทาอาการปวดบวมได้อย่างเด่นชัด การไหลเวียนโลหิตขนาดเล็กบริเวณกระดูกสันหลังที่ดีขึ้นจะทำให้เส้นเอ็น ประสาท กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้นบริเวณที่บาดเจ็บจึงได้รับการฟื้นฟูและซ่อมแซมได้เร็วขึ้น ปรับลดระดับความรุนแรงของปฏิกิริยาการตอบโต้จากระบบต่อไร้ท่อเมื่อรากประสาทขาถูกกดทับ จึงลดการสร้างและการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ พร้อมทั้งลดการหดเกร็งของหลอดเลือดบริเวณที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการบวมของรากประสาทและบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อลดแรงดึงภายในเส้นประสาทและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณกระเบนเหน็บและบั้นเอวจึงบรรเทาอาการปวดบวมและฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของเส้นประสาทได้อย่างเด่นชัด อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวที่ขาและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากรากประสาทขาถูกกดทับจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด การบำบัดและการรักษา โรครากประสาทขาถูกกดทับ ของแพทย์แผนปัจจุบัน หากสงสัย ควรส่งไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์กระดูกสันหลัง ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI) หรือทำการเอกซเรย์พิเศษ ที่เรียกว่าไมอีโลกราฟี (myelography) หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าเป็นไม่มาก การนอนพักอย่างเต็มที่ ให้ยาแก้ปวด และไดอะซีแพม และใช้น้ำหนักถ่วงดึง อาจช่วยให้ทุเลาได้ บางคนอาจต้องใส่ “เสื้อเหล็ก” หรือ “ปลอกคอ” ถ้ารักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล อาจต้องผ่าตัด คำแนะนำของแพทย์แผนปัจจุบัน
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
โรคภัยไข้เจ็บ
ความรู้เรื่อง แคลเซียม กับ โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ
แคลเซียม จัดเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในอันดับต้นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก
เคล็ดลับสุขภาพดี
กินอย่างไร ห่างไกลมะเร็ง
คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องกินประมาณ 80% ในชีวิตเลยทีเดียว เพราะทุกอย่างที่กินเข้าไป ย่อมส่งผลถึงร่างกายในอนาคต กินอะไร ได้อย่างนั้น
เคล็ดลับสุขภาพดี
โยเกิร์ต ทำไมจึงดีต่อสุขภาพ
เชื่อแน่ว่า สาวๆ ที่รักสุขภาพต้องเคยทานโยเกิร์ต และหลายคนที่ชอบเป็นชีวิตจิตใจในการรับประทานโยเกิร์ต
เคล็ดลับสุขภาพดี
เปลือกแอปเปิ้ล ป้องกันมะเร็ง
ใครๆ ก็รู้คุณสมบัติของแอปเปิ้ลเป็นอย่างดี ผลไม้ชนิดนี้มีสรรพคุณหลากหลายมาก แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ได้รับการยอมรับกันว่าดีต่อสุขภาพ
ปัญหาหนังศีรษะ
ผมสวย ด้วย พืชผักสวนครัว
สาวๆ ทราบกันหรือไม่ว่าพืชผักสวนครัว ก็สามารถทำให้เส้นผมของเรา ดูสวย เงางาม ได้เหมือนกัน วันนี้มีวิธีมาบอก เคล็ดลับผมสวย สำหรับสาวๆ รวมทั้งหนุ่มๆ ที่อยากจะมีเส้นผมเงางามมาฝาก
ลดและควบคุมน้ำหนัก
อ้วนกับอาหารว่าง
เคยรู้หรือไม่ว่า อาหารว่าง หรือ Snack ต่างกับมื้ออาหาร Meal อย่างไร เชื่อแน่ว่าหลายคนยังคงสับสนอยู่ แต่ถึงแม้ว่าจะรู้แต่ก็ยังคงปฏิบัติเสมือนหนึ่งว่าเป็นมื้ออาหาร