จากเรื่องที่แล้ว โรคกระดูกพรุน ซึ่งแนะนำการจัดการเกี่ยวกับ แคลเซียม

และตัวจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมที่ได้ผล คือ ฟอสฟอรัส ซึ่งต้องมีควบคู่ไปด้วยกันจึงทำให้การดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นอีกมุมหนึ่งเพื่อคนที่พึงระวังไว้เพราะเมื่อมีการรับ ฟอสฟอรัส เข้าสู่ร่างกายมากๆ ก็อาจทำให้ไตทำงานหนัก เกิดเป็นโรคไตได้ง่ายๆ และเพื่อไม่ให้ไตพังเร็ว ควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีฟอสฟอรัสมาก ขอยกตัวอย่างกลุ่มผักที่ให้ปริมาณเกลือฟอสฟอรัส ดังนี้

แหล่งสารอาหารอย่าง ฟอสฟอรัส

กลุ่มที่ 1 ผักที่มี ฟอสฟอรัส ต่ำมาก

ไม่เกิน 11 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของเนื้อผัก ได้แก่ ขิงอ่อน หน่อไม้หวานหน่อใหญ่ มะระขี้นก จำปานา ตะละปัดใบพาย ดอกขี้เหล็ก แตงไทยอ่อน แตงโมอ่อน แตงร้าน แตงกวา ถั่วปี ถั่วฝักยาวแดง ไส้น้ำเต้า้ บวบงู บวบหอม ลูกตะลิงปลิง มะดัน สายบัว ใบยอ ใบย่านาง ผักกะสัง ผักกะเฉด ผักขาเขียด ผักขี้ขวง ผักแว่นน้ำ ผักหนาม เนื้อฟักข้าว เนื้อฟักเขียว ยอดฟักทอง ยอดกระถิน ยอดจิก มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเสวย ฝักกระเจี๊ยบมอญ ใบกระเจี๊ยบเปรี้ยว เห็ดหูหนู พริกเหลือง ขนุนอ่อน หน่อเหรียง หยวกกล้วยอ่อน(ที่ไม่ใช่หยวกกล้วยน้ำว้า)

กลุ่มที่ 2 ผักที่มี ฟอสฟอรัส ต่ำปานกลาง

ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของเนื้อผัก ได้แก่ ใบชะมวง ใบเปราะ ผักกะโดน ผักติ้ว ผักบุ้งแดง ผักกาดขาว ฟักทองส่วนเนื้อและเปลือก ดอกต้นหอม สมอไทย มะขามสด มะละกอดิบ พริกขี้หนูเม็ดเล็ก พริกชี้ฟ้าแดง มะเขือเครือ เห็ดฟาง เห็ดขมิ้น เห็ดลม

กลุ่มที่ 3 ผักที่มี ฟอสฟอรัส ต่ำ

ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก ได้แก่ หน่อไม้หวานหน่อเล็ก หน่อข่าอ่อน หัวข่าอ่อน ขิงแก่ ใบเตย ใบชะพลู ใบตั้งโอ๋ ใบบัวบก ผักกาดขาว ผักบุ้งขาว ผักชีฝรั่ง ผักผำ ผักแพว ผักแม็ก ผักติ้ว ผักกุ่ม ผักลิ้น ตำลึง ยอดสะเดา มะระหวาน บวบเหลี่ยม ฝักมะรุม ดอกกะหล่ำ ดอกกุยช่าย ดอกผักกวางตุ้ง มะเขือขื่น มะเขือม่วง พริกหนุ่ม พริกชี้ฟ้าเขียว พริกไทยอ่อน พริกหนุ่ม ข้าวโพดอ่อน คูน

กลุ่มที่ 4 ผักกลุ่มที่มี ฟอสฟอรัส สูงปานกลาง

ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก ได้แก่ แครอท กะหล่ำปลี กระชาย ยอดชะอม ดอกแค ดอกขจร ดอกต้างป่า ดอกผักอ้วน ดอกโสน ตะเกียงกะหล่ำ ถั่วงอก ผลน้ำเต้า ใบ แพชชั่นฟรุช ใบมันเทศ ผักกาดเขียว ผักแขยง ผักคะน้า ผักจุมปลา ผักเจียงคา ผักปวยเล้ง ผักหวาน พรกขี้หนูอุบล พริกหวาน พริกยักษ์ ยอดมะกอกอ่อน มะเขือกรอบ ยอดมะระอ่อน มะแว้ง ยอดผักแส้ว ยอดผักฮ้วน ยอดผักฮี้ ยอดผักเฮือด ยอดมะพร้าวอ่อน ลูกเนียง สะตอ หน่อไม้ไผ่ตง เห็ดนางรม เห็ดเผาะ เห็ดเป๋าฮื้อ

โรคไต กับฟอสฟอรัส

กลุ่มที่ 5 ผักที่มี ฟอสฟอรัส สูง

ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก ได้แก่ คึ่นช่าย ยอดแค ต้นกระเทียม ต้นหอม ถั่วแขก ถั่วงอกหัวโต ถั่วฝักยาวเขียว ถั่วพู บร็อคโคลี่ ใบทองหลาง ใบแมงลัก ใบยอ ผักกวางตุ้ง ผักกาดนกเขา ผักกาดหอม ผักกูด ผักขี้หูด ผักเตา ผักปลัง พริกหยวก มะกอกไทย ยอดมะขามอ่อน มะเขือเทศ มะระจีน มะอึก หน่อไม้ไผ่ป่า หยวกกล้วยน้ำว้า หัวปลี

กลุ่มที่ 6 ผักที่มี ฟอสฟอรัส สูงมาก

เกิน 100 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของผัก ได้แก่ ขมิ้นขาว ใบขี้เหล็ก ดอกงิ้วแดงแห้ง ถั่วลันเตา ใบกระเพรา ผักเหมียง ผักชีลาว ผักไผ่ ผักแพงพวย มะเขือพวง ยอดฟักข้าว

จะเห็นได้ว่า กลุ่มผักแต่ละประเภท เมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณที่พอเหมาะ สารอาหารแทบไม่ต้องมีการเพิ่มหรือรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้นเลย ดังนั้น อาหารพื้นบ้านและอาหารปกติที่เรารับประทาน ก็เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกายแล้ว ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นโรคไต อาจมีความเสี่ยงสูงในการรับประทานพืชผักบางชนิด ควรหลีกเลี่ยงพืชผักที่ให้สารอาหารที่ทำให้เกิดภาวะฟอสฟอรัสสูง และทำให้ไตทำงานหนักขึ้นด้วย

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับความงาม

การเลือกซื้อกระเป๋าผู้หญิง ให้เหมาะกับรูปร่าง

สาวๆ ทั้งหลาย ลองหันมามองดู Accessories รอบๆ ตัวเพื่อช่วยเสริมบุคคลิกให้ดูดี กันดีกว่า อย่างที่บอกว่า เครื่องประดับ

เคล็ดลับสุขภาพดี

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพ

ก่อนหน้านั้นได้บอกเรื่องของการดูแลสุขภาพการกิน เกี่ยวกับอาหารเช้าไปบ้าง บางส่วนแล้ว

เคล็ดลับสุขภาพดี

หากเรากินโอวัลตินทุกวัน จะดีไหม

โอวัลติน (Ovaltine) ผงโกโก้สำเร็จรูป ชนิดซอง ที่อัดแคมเปญกันหนักมาก เราก็ซื้อมากินด้วยแหละ แต่กินทุกวันนี่มันจะดีไหมล่ะ ลองมารีวิวกัน

เคล็ดลับผิวสวยใส

วิธีขัดผิวขาว เคล็ดลับดูแลผิว

หลายๆ คนสอบถามกันเข้ามาว่า วิธีการดูแลผิว และวิธีการขัดผิวแต่ละแบบนั้น มีคุณหรือโทษกัน

ลดและควบคุมน้ำหนัก

การนอนหลับ ช่วย ลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่

การนอนก็เป็นการพักผ่อนที่ดีอย่างหนึ่ง หากนอนหลับสนิท ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานอย่างช้าๆ อวัยวะบางส่วนได้พักผ่อน

ลดและควบคุมน้ำหนัก

การลดคอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูงในเลือดมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น กรรมพันธุ์ โรคบางชนิด ท่านต้องรับประทานยาคอเลสเตอรอลและรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้มีคอเลสเตอรอลสูงในเลือด