หากคุณกำลังรู้สึกว่ามีอาการวิงเวียน เวลาจะทำอะไรแล้วรู้สึกว่าโลกหมุนได้ทั้งใบ ทั้งๆ ที่ยังหลับตา หรือในขณะลืมตาก็ยังรู้สึก วิงเวียนหน้ามืด
อยากจะอาเจียนเสียให้ได้ หรือเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังเคลื่อนไหวทั้งที่จริงแล้วคุณกำลังยืน นั่ง หรือนอนอยู่กับที่แท้ๆ และไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย ยิ่งหากว่าเราขยับก็จะเริ่มรู้สึกว่าทุกอย่างที่กำลังทำมีการเคลื่อนไหวมากกว่าที่เราขยับจริงๆ นั่นเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกให้คุฯรู้ว่า ระบบการทรงตัวของร่างกายในหูชั้นใน ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยรักษาการทรงตัวของร่างกาย รักษาการมองเห็นให้คงที่ ควบคุมการเคลื่อนไหวของคุณเริ่มมีปัญหาแล้ว และนี่บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
ในทางวิชาการบอกว่าเป็นโรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ เกิดจากของเหลวที่อยู่ภายในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นในจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและความสมดุล จึงทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะขึ้น เมื่อแรงดันมากขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกตึงๆ ในหูข้างที่ผิดปกติ ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ในกลุ่มที่ทราบสาเหตุจะเรียกว่า กลุ่มอาการมีเนีย ได้แก่ โรคซิฟิลิส หูน้ำหนวก
โรคนี้มีโอกาสเป็นได้ทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบมากในวัยทำงานที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่มีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโรคได้ โดยพบว่าอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง หรืออาหารที่มีรสเค็ม สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด และสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกครึกโครม
ฉะนั้นโรคนี้จึงรักษาไม่หายขาด เพียงแต่สามารถรักษาอาการเวียนศีรษะให้หายเป็นปกติได้เท่านั้น อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยในระยะแรกๆ มักเป็นข้างเดียว แต่เมื่อเป็นนานเข้า โอกาสที่หูข้างที่สองจะเป็นร่วมด้วยก็มีมากขึ้น ส่วนอาการของโรคที่พบบ่อย คือจะเริ่มต้นกันด้วย การมีอาการเวียนศีรษะที่รู้สึกเหมือนกำลังหมุนไปพร้อมๆ กับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ลักษณะอาการคือจะเกิดขึ้นในทันทีทันใด อาจจะเป็นอยู่นานกว่า 20 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง อาการดังกล่าวมักเป็นรุนแรง แต่ไม่ทำให้หมดสติหรือเป็นอัมพาต เมื่อหายเวียนศีรษะ ผู้ที่เป็นจะมีความรู้สึกเหมือนเป็นปกติ
การรักษาทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบ โดยจะให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือด ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน การใช้ยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ
พบว่ามีอาการหูอื้อร่วมด้วย อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ถ้าเป็นระยะแรกๆ จะสูญเสียการได้ยินแค่ชั่วคราว หลังจากหายเวียนศีรษะแล้ว การได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ หรือเป็นมานาน อาการหูอื้อมักจะเป็นถาวร บางครั้งอาจถึงขั้นหูหนวกไปเลยก็เป็นได้
พบว่ามีอาการที่มีเสียงดังในหู และอาการตึงๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติ และจะเกิดแรงดันของน้ำในหูเกิดขึ้น อาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนี้อาจเป็นได้ตลอดเวลาหรือเป็นเฉพาะขณะที่เวียนศีรษะ
โรคนี้ไม่ได้พบบ่อยนัก ในจำนวนของคนไข้ที่เข้ามาพบแพทย์ ด้วยอาการเวียนศีรษะ อาเจียน และมึนงงพร้อมกับมีอาการหูอื้อเป็นพักๆ นั้นจะมีเพียง 7 คนใน 100 คนเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ เนื่องจากการวินิจฉัยโรคจะต้องใช้อาการเฉพาะ เพื่อแยกโรคอื่นที่เกี่ยวกับหูออกไปเสียก่อน โดยใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติมในส่วนของหูชั้นใน ซึ่งบางครั้งอาจไม่พบความผิดปกติ แต่อาจตรวจโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เช่น หูน้ำหนวก ซึ่งเกิดในหูชั้นกลาง แต่ก็อาจจะกระทบไปถึงหูชั้นในด้วย
ภาวะหูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 โรคที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า ภาวะของการทรงตัวผิดปกติอย่างเดียวกับโรคที่หูชั้นในผิดปกติแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะมีทั้งที่ระบบการทรงตัวเสียและการได้ยินเสียไปด้วย และอีกโรคที่พบบ่อยคือ โรคหินปูนเกาะอยู่ในหูชั้นในหลุด ตรงนี้จะเป็นเรื่องของโรคเกี่ยวกับหูที่หมอจะแยกออกไปจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เมื่อแยกโรคออกแล้วคนไข้มาด้วยอาการเฉพาะจึงจะบอกได้ว่าคนนั้นเป็น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
การป้องกันโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
ทำได้ เพราะหากทราบว่ามีภาวะที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคแล้ว อะไรที่เป็นปัจจัยที่เสี่ยงก็ควรลดสิ่งนั้นเสีย เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ลดการบริโภคอาหารที่มีรสชาติเค็ม และนอกจากนี้การปฏิบัติตัวเพื่อให้ลดภาวะและอาการของโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน คือการลดอาการเครียด ควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส ออกกำลังกายอยู่เสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ตลอดจนแสงแดดจ้าหรืออากาศที่ร้อนอบอ้าว เป็นเวลานานๆ และบ่อยๆ
โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยมากนัก ไม่ได้ทำให้ล้มหมอนนอนเสื่อ แต่ถ้าเป็นมากจนกระทั่งรบกวนการทำงาน ควรดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็ห่างไกลจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันแล้ว
ขอบคุณที่มา panyathai.or.th / thaihealth.or.th
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
โรคภัยไข้เจ็บ
เลือดข้น โรคที่ไม่ดีต่อร่างกาย
อาการ เลือดข้น ถือว่าเป็นอาการผิดปกติของร่างกาย และถือเป็น โรคชนิดหนึ่งเรียกว่า “โรค เลือดข้น” เป็นภัยเงียบที่หลายคนอาจยังไม่รู้ตัว
เคล็ดลับความงาม
เคล็ดลับการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอดบุตร
สตรีมีครรภ์ทั่วไปมักเกิดอาการ อ่อนเพลีย ท้องอืด ท้องผูก ปวดหลัง นอนไม่ค่อยหลับ หรือมีอาการไม่สบายตัวอยู่บ่อยๆ
โรคภัยไข้เจ็บ
ความรู้เรื่อง แคลเซียม กับ โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ
แคลเซียม จัดเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในอันดับต้นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก
เคล็ดลับสุขภาพดี
ป้องกันโรคหัวใจ ทำได้ไม่ต้องรอแก่
หัวใจ ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดพอๆ กับสมองของเรา ถ้าหัวใจทำงานหนักเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะต่างๆ ตามมาในภายหลัง เช่น หัวใจล้มเหลว
เคล็ดลับความงาม
ชะลอความแก่ด้วย งาม้อน
ในบ้านเรานั้น เริ่มมีการปลูกงาม้อน มานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือ
เคล็ดลับผิวสวยใส
วิธีขัดผิวขาว เคล็ดลับดูแลผิว
หลายๆ คนสอบถามกันเข้ามาว่า วิธีการดูแลผิว และวิธีการขัดผิวแต่ละแบบนั้น มีคุณหรือโทษกัน