คนปกติจะมี ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ก่อนอาหารไม่เกิน 120 มก.% และระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมงไม่เกิน 160 มก.%
หากเกินกว่านี้จะเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังต้องการดูแลอย่างต่อเนื่อง โรคนี้จึงเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ถ้ารักษาอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยสามารถอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมีชีวิตยืนยาวได้เหมือนคนปกติ โดยผู้ป่วยจึงต้องรู้จักควบคุมและดูแล ตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะสมดุล
มะเขือเปราะลดน้ำตาลในเลือดได้
ทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม ผลมะเขือเปาะนั้น สามารถใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศประชากรในแคว้นโอริสสา ของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งาน วิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด
ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่
ฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและ ฮอร์โมน เพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
พริกขี้หนูสด ลดระดับน้ำตาลในเลือด
พริกมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งเมื่อรับประทานและเมื่อใช้เป็นยาทาภายนอก การใช้พริกเป็นยาทาภายนอกเพื่อลดความปวด โดย รศ.สุพีชา วิทยเลิศปัญญา ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยเรื่อง “เภสัชจลนศาสตร์ของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูสด และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกขี้หนูสดต่อน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี” เพื่อพิสูจน์สรรพคุณของสารดังกล่าวในพริกขี้หนูว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่
Capsaicin ในพริกขี้หนู ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยา เชื่อกันว่ามีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีในการวิจัยระยะแรกจะศึกษานำร่องในอาสาสมัครจำนวน 2 ราย เพื่อพิสูจน์ปริมาณที่เหมาะสมของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลลดลง
และในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม (Thaxtra – P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค
ผักเชียงดา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านของภาคเหนือ ที่นิยมนำมารับประทานกับน้ำพริก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำพริกมะม่วง หรือบางคนนำมาแกงกับปลาช่อนย่าง ซึ่งนอกจากผักเชียงดาจะนำมาปรุงอาหารได้รสชาติที่อร่อยน่ารับประทานแล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่า ยังมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรค เบาหวานอีกด้วย เนื่องจาก มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี
ผักชนิดนี้เป็นผักที่ขึ้นชื่อและเป็นผักพื้นบ้านวงศ์เดียวกับดอกรักที่ใช้ร้อยมาลัย มีลักษณะเป็นไม้เถาสีเขียวเลื้อยไปได้ไกล ส่วนของลำต้นอยู่เหนือดิน มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปร่างกลมรี ปลายแหลม ฐานใบแหลม ก้านใบยาวประมาณ 3-6 ซม. เป็นพืชที่มีอายุยืนทนแล้งได้ดี แตกยอดได้ตลอดปี
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับสุขภาพดี
การทำให้ตับแข็งแรงและสุขภาพดี
หากจะทายว่าอะไรเป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ทุกชนิด และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมทาบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย
สุขภาพเต้านม ทรวงอก
เทคนิคการให้นมบุตรได้นาน
เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็รู้ว่านมแม่มีประโยชน์มหาศาลกับลูกอย่างไร คุณแม่อินเทรนด์ที่กําลังตั้งครรภ์ ต่างก็ตั้งธงว่า “ฉันจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้”
เคล็ดลับสุขภาพดี
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คนไทยเป็นบ่อยต้องระวัง
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แม้แต่หมอก็แนะนำ ให้สำรวจตัวเองบ่อย ๆ
เคล็ดลับสุขภาพดี
ปลาทู ก็มี โอเมก้า 3
โอเมก้า 3 ที่มีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายช่วยบำรุงสมองให้ความจำดีและคุณประโยชน์อีกหลายอย่าง
เคล็ดลับผิวสวยใส
เคล็ดลับผิวสวย สุขภาพดี
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้หญิงทุกคน ล้วนต้องการมีผิวสวยสุขภาพดีไปตราบนานเท่านาน
เคล็ดลับสุขภาพดี
ข้อเสียของการนอน เสี่ยงโรคเบาหวาน จริงหรือ???
เค้าว่า การนอนน้อย หรือ การนอนมาก มีโอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน จริงหรือไม่