มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง

10 คำถามควรรู้ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

  • จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมแค่ไหน มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของสตรีไทย โดยทั่วไปผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป 1 คนใน 54 คน จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมและมีโอกาสสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มะเร็งเต้านมพบได้ตั้งแต่อายุ 19 ปี ! จนถึงอายุ 90 ปี
  • ทราบว่ามะเร็งหลายชนิดรักษาได้แล้ว มะเร็งเต้านมรักษาได้หรือไม่ รักษาได้ ! ถ้าเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น ที่ยังไม่ลุกลาม หรือกระจาย รักษาไม่ได้ ! ถ้าเป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ หรือมีการกระจายไปแล้ว
  • สาเหตุของมะเร็งเต้านมคืออะไร มีวิธีการหลีกเลี่ยง หรือป้องกันไม่ให้เกิดได้หรือไม่ ปัจจุบันวงการแพทย์ยังถือว่า เป็นมะเร็งที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จึงไม่มีวิธีการป้องกันวิธีใดเลย พบว่าสตรีบางกลุ่มมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนทั่วไป
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ว่าคืออะไร ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดมะเร็งเต้านมคือ อายุที่มากขึ้น เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม เป็นโรคกรรมพันธุ์บางชนิด เคยมีก้อนเต้านมที่ผลทางพยาธิแปลก ๆ ส่วนปัจจัยเสี่ยงรองลงมาคือ การมีบุตรหลังอายุ 30 ปี การมีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี การหมดประจำเดือนช้า หลังอายุ 55 ปี การไม่มีบุตร และการได้รับฮอร์โมนเป็นระยะเวลานาน ๆ
  • อาการของโรคมะเร็งมีอะไรบ้าง อาการเริ่มแรกของมะเร็งเต้านมเกือบจะไม่มีให้เห็น แต่อาการที่พบ อาจแสดงว่ามีขนาดโต และไม่ใช่เริ่มเป็น เช่นคลำพบก้อนรูปร่างหรือผิวเปลี่ยนแปลง ปวดที่เต้านม หรือมีน้ำออกมาจาก หัวนมโดยเฉพาะสีคล้ายเลือด
  • การตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือโดยแพทย์สามารถค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ได้หรือไม่ อาจจะไม่ได้ ! การตรวจเต้านมด้วยการคลำ แม้จะทำโดยแพทย์ก็ไม่สามารถค้นหามะเร็งระยะเริ่มต้นได้ เพราะการคลำ อาจตรวจพบมะเร็งที่มีขนาดโตพอสมควรแล้ว หรืออาจตรวจพบก้อนเนื้อความผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็งเป็นส่วนใหญ่
  • แล้วจะทำอย่างไรเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มต้นได้ การเอกซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรม คือวิธีที่ดีที่สุด และได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ทั่วโลก สามารถตรวจพบมะเร็งที่มีขนาดเล็กมาก หรือที่เพิ่งจะเห็นเป็นหินปูนอยู่ในเต้า นม ซึ่งมะเร็งในระยะนี้จะทำการรักษาให้หายขาดได้
  • เอกซเรย์เต้านมคืออะไร ปลอดภัยหรือไม่ เป็นการตรวจเต้านมโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษ ที่ใช้รังสีในปริมาณที่ต่ำ (น้อยกว่าการเอกซเรย์ทั่วไปมาก) โดยทำการตรวจเต้านมข้างละ 2 ท่า รวม 4 ภาพ โดยจะใช้อุปกรณ์ช่วยในการกดเต้านม ให้เนื้อเต้านมกระจายออก และเอกซเรย์ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยไม่ทำอันตรายใด ๆ แก่เต้านม จึงมีความปลอดภัยมาก (แม้ผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมแล้วก็สามารถทำการตรวจได้)
  • เมื่อไหร่จึงควรไปตรวจเอกซเรย์เต้านม ผู้หญิงทุกคนเมื่ออายุ 35 ปีควรตรวจ 1 ครั้ง จากนั้นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรทำการตรวจอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ ปี อย่างไรก็ตามถ้าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง (ดูข้อ 4) ต้องตรวจทุกปี โดยไม่ต้องพิจารณาอายุ
  • ถ้าพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมจะรักษาอย่างไร การรักษาที่ดีที่สุดคือการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันสมารถทำได้ โดยการตัด เฉพาะก้อนออก โดยไม่ต้องตัดเต้านมทั้งข้างทิ้งก็ได้ นอกจากนี้มักจะต้องให้ยาเคมีบำบัด เพื่อฆ่ามะเร็งร่วมด้วย และอาจใช้ การฉายรังสีร่วมด้วยในบางราย

คำถามควรรู้กับมะเร็งเต้านม

การดูแลเต้านม

  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
  • หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ

ระยะของมะเร็งเต้านม

  1. ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม
  2. ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  3. ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  4. ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  5. ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดูหรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

เอกสารอ้างอิง WWW.CANCERNET.NCI.NIH.GOV WWW.FDA.GOV

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

โรคภัยไข้เจ็บ

โรคเบาหวาน คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

เบาหวานนั้นเกิดจากภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย โดยปกติอินซูลินมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ

เคล็ดลับผิวสวยใส

ครีม VEET ผลิตภัณฑ์ สำหรับกำจัดขน รักษาผิว ขาวสวย ใส

มาว่ากันด้วยเรื่อง ผลิตภัณฑ์กำจัดขน กันดีกว่า ยอดนิยมในปัจจุบันนี้จะไปไหนเสีย นอกจาก ครีม VEET ครีม กำจัด ขน แท้ และ เทียม

เคล็ดลับสุขภาพดี

การใช้ยาขณะให้นมบุตร

Medications in the Breast-feeding mother หรือ การใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร โดยหลักการทั่วไปในการใช้ยาของมารดาที่ให้นมบุตรนั้นมีดังนี้

เคล็ดลับสุขภาพดี

ภาวะของการมีบุตร ยาก

โดยทั่วไปแล้ว หญิงไทยเรามีอัตราเฉลี่ยของการมีบุตรยากอยู่ที่ประมาณ 10-20% ของประชากรทั่วประเทศ

ลดและควบคุมน้ำหนัก

เมนูลดอ้วน เพื่อหุ่นสวย

อาหารหลายๆ อย่างที่เราๆ รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้อิ่มท้องและสามารถที่จะแปรเปลี่ยนอาหารที่รับประทานเข้าไป เป็นพลังงานเพื่อใช้ดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละวัน

ปัญหาหนังศีรษะ

Hairstyle 2010 Beautiful

When word gets around about your command of beautiful hairstyle facts, others who need to