เรามักพบว่าในท้องตลาดทั่วไปจะมีผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายที่วางจำหน่ายอยู่นั้น บางรายการอาหารในชีวิตประจำวัน
มีการเพิ่มหรือเสริมสารอาหารเพื่อคุณค่าแก่ร่างกายลงไป โดยที่ผู้ผลิตจะระบุหรือแสดงรายการว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นได้ถูกเพิ่มหรือเสริมสารอาหารอะไรลงไปบ้างไว้บนฉลากข้างขวด ซึ่งหากผู้บริโภคได้อ่านฉลากก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ก็จะทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้มีการเพิ่มสารอาหารอะไรลงไปบ้าง มีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นความเคยชิน ที่ผู้บริโภคจะไม่ทราบว่ามีการเพิ่มสารอาหารลงไปในผลิตภัณฑ์ที่ตนเองนำไปบริโภค จนกว่าจะได้เริ่มหันไปดูฉลากอีกครั้ง
ปัญหาใหญ่จึงเกิดขึ้น เนื่องจากสาเหตุที่มาจากความเคยชินของผู้บริโภคเอง ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการอ่านฉลากรายละเอียดข้างขวดเวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งปกติแล้วผลิตภัณฑ์ที่มักจะมีการเพิ่มสารอาหารและมีการวางจำหน่ายทั่วไปนั้นมักพบได้ง่าย เช่น
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งจะเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน และวิตามินเอ ลงไปในผลิตภัณฑ์
- นมข้นหวาน มักจะเสริมวิตามินเอ เกลือป่น ไอโอดีน
- นมผง จะเพิ่มหรือเสริมสารธาตุเหล็ก แคลเซียม
- น้ำมันหอย เสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน
- ฯลฯ
การเพิ่มหรือเสริมสารอาหารนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตต้องการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ตนผลิตให้ดูดี หรือมีคุณค่ามากกว่าคู่แข่งขัน หรือเพื่อในทางการค้า โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแนวคิดในการเพิ่มสารอาหารลงในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารของประชาชน
โดยต้องการให้สารอาหารที่เพิ่มหรือเสริมเข้าไปนั้นก่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้เครื่องหมายรับรองอาหารเพิ่มสารอาหารหรือ Nutrition Seal จึงิกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของประชาชนนั่นเอง
ปัญหาการขาดสารอาหาร
แม้ว่าในประเทศไทยเองไม่ได้เป็นประเทศที่มีผู้ขาดสารอาหารติดอันดับโลก แต่ก็มีหลายพื้นที่ ที่มีประชาชนมีภาวะโภคชนการเกิน จนทำให้ประชากรเกิดเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งชนิดต่างๆ มากขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี แต่กลับกัน โรคขาดสารอาหารซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยยังไม่หมด แต่ไม่รุนแรงเหมือนในอดีต ซึ่งในปัจจุบันปัญหาการขาดสารอาหารที่พบมากในคนไทยและคนทั่วโลกได้แก่
- การขาดวิตามินเอ มีผลทำให้มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน มีภูมิต้านทานต่ำ หากขาดในปริมาณมากอาจทำให้ตาบอดได้ง่าย
- โรคขาดธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เฉื่อยชา ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ช้า ซีด
- โรคขาดไอโอดีน ทำให้เป็นโรคคอพอก สติปัญญาไม่ดีจนเป็นโรคปัญญาอ่อน แม้ว่าปัจจุบันจะไม่รุนแรงมากแต่ก็ยังมีพบอยู่บางแห่งในประเทศไทย
ดังนั้นแล้วการบริโภคอาหารหลายๆ อย่าง ผู้บริโภคเองจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสม หากร่างกายได้รับสารอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้มากกว่าการขาดสารอาหาร แต่ผลเสียของการขาดสารอาหารก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการมีโภชนาการเกิน
อ้างอิง gourmet & cuisine
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับสุขภาพดี
เคล็ดลับชะลอวัยทอง
สาวๆ รู้หรือไม่ว่า การย่างเข้าสู่วัยทองนั้น หมายถึงเราจะเริ่มต้นอาการหลายอย่างและไม่เป็นตัวของตัวเอง การใช้เวลาปรับตัวนั้นอาจเรียกได้ว่า เนิ่นนานและอาจจะยังทำใจไม่ได้ที่เราจะต้อง แก่แล้วหรือนี่
เคล็ดลับผิวสวยใส
ดูแลผิวอย่างไรให้สวยแบบ แพนเค้ก จากทวิภพ
ลองคิดดูเล่นๆ ว่าแพนเค้ก มีเสน่ห์ยังไง ปฏิเสธไม่ได้ว่าดาราดังคนนี้มีผิวที่สวยขาวใส แถมยังเก่งและมีเสน่ห์อีกหลายอย่าง
เคล็ดลับสุขภาพดี
ปรับสุขภาพจิต ให้ดีหลังน้ำลด
เทคนิคการปรับสุขภาพจิตให้ดีหลังน้ำลด เริ่มจากข้อแนะนำจากกรมสุขภาพจิต ต่อบุคคลที่ประสบปัญหาความเครียด เมื่อต้องเผชิญกับการสูญเสียและอื่นๆ
เคล็ดลับผิวสวยใส
เคล็ดลับ วิธีทำ หน้าใส
เคล็ดลับกับเทคนิคหน้าใสวันนี้ง่ายๆ กับ วิธีทำหน้าใส และเคล็ดลับหน้าใส ได้อย่างใจคิด
เคล็ดลับสุขภาพดี
น้ำมันชา ต้านกรดไขมัน TFA ป้องกันเบาหวาน ดีต่อสุขภาพ
กรดไขมันทรานส์ หรือ Trans Fatty Acids หรือ ไขมันทรานส์ (Trans Fat) ที่เรียกย่อๆ ว่า TFA
เคล็ดลับสุขภาพดี
รองเท้าส้นสูง เสี่ยง หมอนรองกระดูกเคลื่อน
ความน่าสนใจของ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน เป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดมายังเนื้อหาในส่วนนี้