Medications in the Breast-feeding mother หรือ การใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร โดยหลักการทั่วไปในการใช้ยาของมารดาที่ให้นมบุตรนั้นมีดังนี้
- พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ และสามารถเลื่อนการใช้ยาออกไปได้หลังหย่านมหรือไม่
- เลือกใช้ยาที่ยอมรับกันว่ามีความปลอดภัยในทารก หรือมีการรับรองจากบริษัทผู้ผลิต
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทราบว่ามี toxicity ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาใหม่ๆที่มีข้อมูลน้อย ให้ใช้ยาที่ออกมานานและมีผลการใช้ยาในมารดาที่ให้นมลูกว่าไม่มีอันตราย
- เลือกใช้ยาที่ผ่านไปน้ำนมได้ยาก ,มี half-life สั้น, มีความสามารถจับกับโปรตีนได้ดี,ละลายในไขมันได้ไม่ดี และมีการดูดซึมที่ทางเดินอาหารได้ไม่ดี
- เลือกการให้ยาแบบวันละครั้งเดียว ดีกว่าแบบวันละหลายๆ ครั้ง ถ้าให้ยาแบบวันละครั้ง ควรให้แม่กินยาหลังที่ลูกกินนมแม่และมีการหลับเป็นระยะเวลานาน ถ้าให้แบบหลายครั้งให้ลูกกินนมก่อนแม่กินยาทันที
- เลือกวิธีการให้ยาที่ทำให้ระดับยาในเลือดแม่ไม่สูง เช่นใช้แบบ ทา ดีกว่าฉีดหรือกิน
- ไม่ว่าใช้ยาอะไร ควรเลือกใช้ในขนาดต่ำ และใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด
ปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยต่อทารกนั้นมีหลายประการ เป็นต้นว่า ปัจจัยทางคุณสมบัติของยา (Drugs factors) ปัจจัยทางทารก (Infant factors) และ ปัจจัยทางมารดา (Maternal factors)
ปัจจัยทางคุณสมบัติของยา (Drugs factors)
- Diffusion or active transport. ยา ส่วนใหญ่ผ่านไปน้ำนมโดยวิธี Diffusion นั่นคือถ้าระดับยาในplasmaแม่สูง ระดับยาน้ำนมก็สูงขึ้นด้วย แต่ยาบางตัวใช้วิธี active transport ทำให้ความเข้มข้นของยาในน้ำนมสูงกว่าในplasma ของแม่
- Protein binding ยาที่จับกับโปรตีนได้ดี เช่น warfarin จะมีระดับยาต่ำในน้ำนม
- Lipid-solubility ยาที่ละลายได้ดีในไขมัน จะผ่านไปน้ำนมได้มากขึ้น
- Degree of ionization ยาที่ไม่มีการแตกตัว(unionized)ใน plasma จะผ่านไปน้ำนมได้มากกว่ายาที่มีการแตกตัวดีกว่า
- Molecular weight ยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำเช่น Lithium จะผ่านไปน้ำนมได้เร็วหลังจากแม่กินยา ส่วนยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงช่น Heparinจะไม่ผ่านไปน้ำนมแม่
- Oral bioavailability ยาบางตัวถูกทำลายที่ทางเดินอาหารของทารกได้ ไม่ผ่านไปยังระบบไหลเวียนของทารกจึงไม่มีความเสี่ยง หรือยาบางตัวดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี เช่น aminoglycosides จึงมีผลน้อยต่อทารก
- Half-life ถ้าแม่ได้ยาที่มี half-life ยาว หรือมี active metabolite ที่อยู่นาน ความเสี่ยงต่อทารกก็มากขึ้น โดยทั่วไปจึงควรหลีกเลี่ยงยาพวกนี้ โดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
- Non-doserelated toxicity มียาจำนวนน้อยที่อาจทำให้เกิดการแพ้ยา ซึ่งไม่เกี่ยวกับปริมาณยาที่ได้รับ
ปัจจัยทางทารก (Infant factors)
- Age ทารกแรกคลอดโดยเฉพาะ ทารกคลอดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากความสามารถในการกำจัดยาออกจากร่างกายไม่ดี มีการสะสมของยามากกว่า
- Health status ทารกน้ำหนักน้อย หรือป่วย มีความเสี่ยงมากขึ้น ภาวะอื่นเช่น Renal ,liver impairment, G6PD deficiency หรือ dehydration
ปัจจัยทางมารดา (Maternal factors)
- Dose โดยทั่วไป ระดับยาในน้ำนมมีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่มารดาได้รับ
- Route of administration การให้ยาทาง parenteral ระดับยาผ่านไปน้ำนมจะสูงกว่าการกิน ส่วนยาทาหรือยาพ่นจะผ่านไปน้อยมาก
- Health status มารดาที่มี renal หรือ hepatic impairment จะมีการสะสมยามากกว่า จะเพิ่มความเสี่ยงต่อทารก
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
ลดและควบคุมน้ำหนัก
การออกกำลังกายหลังคลอดบุตร
คุณแม่มือใหม่ที่มีน้ำหนักตัวที่ลดลง ทรวดทรงที่กลับคืนมา เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของคุณแม่ส่วนใหญ่ ซึ่งมีคำแนะนำจากสูติแพทย์ว่า
เคล็ดลับสุขภาพดี
แอล-คาร์นิทีน ทำเส้นเลือดอุดตันได้
กินอาหารเสริม แอล-คาร์นิทีน เร่งเส้นเลือดอุดตัน พบกินร่วมเนื้อสัตว์จุลินทรีย์ในลำไส้จะเปลี่ยนให้กลายเป็นสารพิษ
เคล็ดลับความงาม
แต่งตัวให้ดูดีสำหรับผู้หญิง
ผู้หญิงหลายคน อาจจะมีปัญหากับการแต่งตัวและรูปร่าง ของตนเองอยู่เป็นแน่ไม่มากก็น้อย
เคล็ดลับสุขภาพดี
ภาวะของการมีบุตร ยาก
โดยทั่วไปแล้ว หญิงไทยเรามีอัตราเฉลี่ยของการมีบุตรยากอยู่ที่ประมาณ 10-20% ของประชากรทั่วประเทศ
เคล็ดลับผิวสวยใส
สารเคมีที่ทำให้หน้าขาว
การใช้ครีมหน้าขาวทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
เคล็ดลับผิวสวยใส
ผิวแห้งในหน้าหนาว อันตราย
หน้าหนาวเป็นสภาวะความกดอากาศต่ำ ซึึ่งในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมหนาว มาทางตอนบนของประเทศ หรือทางประเทศจีน ระยะทางที่ลมพัดมา