อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

หัวข้อการเรียนรู้

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วหรือยัง?

นักวิชาการบอกว่า ประเทศไทย มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึง 10% มาตั้งแต่ปี 2548 และเพิ่มขึ้นทุกปี และมีหลายฝ่าย คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี 2564 และจะเข้าสู่ในระดับสุดยอดในปี 2574 คือ จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 28-30% ของประชากรทั้งหมด

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรไทยและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บอกไว้ว่า

ตอนนี้ทั่วโลกมีผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 1,000 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 8,000 ล้านคน แต่ใน 10 ประเทศของอาเซียน พบว่า กลายเป็นภูมิภาคของ สังคมผู้สูงอายุ ไปแล้ว

นั่นเพราะ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึง 11% พูดง่าย ๆ ก็คือ เห็นคนเดินมา 5 คน จะต้องเจอผู้สูงอายุ อยู่ในนั้นอย่างน้อย 1 คน

รู้หรือไม่ว่า

  • ญี่ปุ่น มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 28% จากประชากรทั้งหมด
  • สิงคโปร์ มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป 20%
  • และประเทศไทยเรากำลังตามไป ด้วยประชากรสูงอายุ 10-11%

สาเหตุ ที่ประเทศทั้งหลายมีคนสูงอายุมากขึ้น

สัดส่วนของผู้สูงอายุ ที่เพิ่มขึ้น เหตุผลเดียวที่เห็นได้ชัดคือ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์

ทำให้รัฐ สามารถเพิ่มสวัสดิการแก่ประชาชนได้มากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข อนามัย โรงพยาบาล และการคมนาคมขนส่ง อย่างทั่วถึง ที่สำคัญ

ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ

อยากเป็นคนสูงวัยที่แข็งแรง
และมีความสุข หรือไม่?

สุขภาพดี หาซื้อไม่ได้ ต้องสร้างเอง
แต่
การมีโภชนาการที่ดี สร้างเองได้ไม่ยาก

อยากมีโภชนาการที่ดี ทำอย่างไร
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

โภชนาการ สำคัญต่อผู้สูงวัย อย่างไร

ความรู้เรื่องโภชนาการเบื้องต้น

โภชนาการ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับ ความสำคัญของอาหารที่มีผลต่อสุขภาพร่างกาย

โภชนาการ (nutrition) จึงหมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการนำ อาหาร (food) เข้าสู่ร่างกาย

เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกประเภทอาหาร วิธีการในการนำเข้าสู่ร่างกาย ตลอดจนการคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ได้ เมื่อร่างกายนำไปใช้แล้ว ว่าให้ผลดี หรือไม่ดีอย่างไร

โภชนาการ กับ อาหาร จึงมีความหมายต่างกัน อาหาร จะบอกเกี่ยวกับสิ่งที่รับประทานได้ มีประโยชน์หรือโทษอย่างไร แต่เรื่องโภชนาการ จะพูดถึงเรื่องที่ครอบคลุมกว่านั้น และแน่นอนว่า รวมเรื่องของอาหารเข้าไปด้วย

การโภชนาการ โดยจะเน้นในเรื่องของ การคัดเลือกและเตรียมอาหาร เพื่อให้เหมาะสมกับ รูปแบบที่สามารถนำเข้าสู่ร่างกายได้ รวมถึง การคำนึงเกี่ยวกับ ระบบย่อยและการดูดซึมของร่างกาย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพในหลายด้าน

โภชนาการที่ดี ต้องมาจากอาหารที่ดีด้วย

เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงวัย เราควรกินอาหารให้หลากหลาย ในสัดส่วนที่เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

องค์การอนามัยโลก ได้จำแนกอาหารออกเป็น 5 หมู่ การบริโภคอาหารและโภชนาการตามหลักโภชนบัญญัติ จะทำให้มนุษย์เรา สามารถเลือกอาหารเพื่อนำมาบริโภคได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ โภชนาการที่ดี ชีวียั่งยืน

ธงโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

ปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุ ควรบริโภคต่อวัน

ประเภทอาหาร

ปริมาณ

ข้อเสนอแนะ

  • เนื้อสัตว์
  • นม
  • ไข่
  • ถั่วและธัญพืช
  • ข้าว/อาหารประเภทแป้ง
  • ผักใบเขียว
  • ผักสีเหลือง
  • ผลไม้
  • ไขมัน
  • น้ำดื่ม
  • 4-5 ช้อนโต๊ะ
  • 240 มิลลิลิตร
  • 3-4 ฟองต่อสัปดาห์
  • รับประทานได้บ่อย
  • 6-8 ทัพพี
  • 2 ทัพพี
  • 1 ทัพพี
  • 1 ส่วนต่อมื้อ
  • 2 ช้อนโต๊ะ
  • 6-8 แก้ว
  • ควรเน้นเนื้อปลาให้เป็นประจำ
  • นมพร่องมันเนยวันละ 1 แก้ว
  • หากมีปัญหาเรื่องไขมันในเลือด ควรบริโภคเฉพาะไข่ขาว
  • อาจใช้ประกอบลงในอาหาร
  • ควรเลือกชนิดที่มีการขัดสีน้อย
  • ควรรับประทานผักต้มเป็นประจำ
  • ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ขนุน ลำใย
  • หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ หรือบริโภคแต่น้อย
  • หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ชา กาแฟ ควรบริโภคแต่น้อย

แนะนำ หมู่อาหารที่เหมาะสม ในการบริโภคตามหลักโภชนาการที่ดี

เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ไข่ นม ถั่ว

ให้พลังงานอย่างเพียงพอ ควรเลือกรับประทาน เนื้อไก่ ส่วนปีก สะโพก ต้นขา หรือเนื้อเป็ดย่าง ควรเลือกแบบที่ไม่ติดหนัง เพื่อช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

เนื้อปลาย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้สูงวัย ไข่และนมพร่องมันเนย ช่วยเสริมแคลเซียมและโปรตีนได้ดี

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

นมสด รสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย

ในปริมาณ 240 มล. จะมีโปรตีน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม และให้พลังงาน 90-150 กิโลแคลอรี่

นมขาดมันเนย จะมีไขมันน้อยที่สุดเพียง 0-3 กรัมเท่านั้น

ผู้สูงอายุ ก็ทานนมได้

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

ผักต่าง ๆ

ในปริมาณ 70 กรัม หรือครึ่งถ้วยตวง จะได้โปรตีน 2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม และให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่

ผักต่าง ๆ ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ผักกาด มะเขือ มะระ แตงกวา ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน ผักต้ม จะย่อยง่ายกว่าผักสด

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

ผลไม้หลากหลายชนิด

ผู้สูงอายุที่สุขภาพดี สามารถรับประทานผลไม้ได้ทุกชนิด แต่เมนูแนะนำคือ แตงโมง ชมพู่ แคนตาลูป สัปปะรด ฯลฯ หรือผลไม้ที่เนื้อนุ่ม เพื่อช่วยเสริมวิตามินและเส้นใยอาหาร

จะได้รับคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม และพลังงาน 60 กิโลแคลอรี่

ไขมัน
เพียง 1 ช้อนชา จะให้ไขมัน 5 กรัม และให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่

ไขมันที่ได้จากผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่าง ๆ ที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุคือ น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันดอกทานตะวัน

ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

การปฏิบัติตนเพื่อให้เป็นผู้สูงวัยที่แข็งแรง

นอกจากการ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ในทุกมื้อแล้ว เพื่อให้ผู้สูงวัย มีร่างกายที่แข็งแรงยิ่งขึ้น ขอแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี ดังนี้

  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง และหากมีเวลา แนะนำผู้สูงอายุ ให้งีบหลับพักผ่อนบ้างในระหว่างวัน
  • อยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อการผ่อนคลาย ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต
  • ฝึกการขับถ่าย เพื่อช่วยลดการท้องผูกในทุกเช้า
  • ดูแลสุขภาพภายในช่องปาก ฟัน และเหงือก ให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ควรตรวจสุขภาพประจำปีบ้าง อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อปี
  • ออกกำลังบ้าง เดินเท้าเปล่าบนพื้นหญ้านุ่ม ๆ ขยับออกแรงเล็กน้อย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย
  • งดสิ่งเสพติดที่ให้โทษต่อร่างกาย
  • มองโลกในแง่บวก เพื่อช่วยให้จิตใจแจ่มใส่ และอารมณ์ที่ดี
  • พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือเพื่อนบ้าน เพื่อช่วยให้จิตใจแจ่มใสมากขึ้น
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

มื้ออาหารแนะนำ ใน 1 วัน สำหรับผู้สูงอายุที่อยากมีสุขภาพดี ตามหลักโภชนาการ

  • มื้อเช้า รับประทานข้าวต้มปลาช่อน อาหารว่างเป็นนมถั่วเหลือง หรือขนมกล้วย
  • มื้อกลางวัน ก๋วยเตี๋ยวไก่ อาหารว่าง อาจเป็น มะละกอสุกและถั่วเขียวต้มไม่หวานมาก
  • มื้อเย็น ข้าวสวยกับน้ำพริกและปลา (นึ่ง/ทอด) แกงเลียงหรือผักต้ม กล้วยน้ำว้า เพื่อให้ย่อยง่ายและนอนหลับ
  • ก่อนนอน อาจรับประทานนมอุ่น 1 แก้ว

เมนูแนะนำ โจ๊ก ข้าวต้มปลา ไข่ตุ๋น แกงจืดตำลึง ปลานึ่งสาหร่าย สุกี้ ต้มเลือดหมู กระเพาะตุ๋นน้ำแดง ต้มยำปลา เห็ดผัดน้ำมันหอย ผัดผัดบุ้ง ผัดมะเขือยาว ถั่วเขียวต้มน้ำตาล กล้วยบวชชี เต้าหู้นมสด เฉาก๊วยนมสด ลูกเดือย เมล็ดธัญพืชต่างๆ น้ำมะตูม น้ำขิง น้ำกระเจี๊ยบ เป็นต้น

เมนูสำหรับผู้สูงอายุ ข้างต้นนี้ ถ้าไม่ชอบบางเมนู สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ แต่ขอให้เน้นที่ต้องครบหมู่ และควรย่อยง่าย หลีกเลี่ยงน้ำมันหรือไขมันจากสัตว์ หรือรับประทานแต่น้อย

โภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุ

อาหารที่ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยง

1.อาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด เช่น ขนมไทย เค้ก ลูกอม ไอศกรีม ช็อคโกแลต น้ำพริกกะปิ ส้มตำปู ต้มยำ อาหารพวกนี้เมื่อทานไปแล้วร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานเต็มที่เพื่อเผาผลาญ ความหวานของน้ำตาลไม่หมด จะสะสมอยู่ในร่างกาย เป็นเหตุทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน และอีกมากมาย

2.อาหารประเภททอด ฟาสฟู้ด รวมทั้งเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ ซึ่งมีปริมาณไขมันสูง เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยทอด มันทอด หมูสามชั้นทอด อาหารเหล่านี้ย่อยยาก ทำให้ท้องอืด แน่นท้อง ทำให้มีปริมาณไขมันเพิ่มขึ้น เป็นเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ไขมันในเลือดสูง

3.อาหารแปรรูป เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ แหนม มีเชื้อจุลินทรีย์ ใช้วัตถุกันเสียและสารเคมีปรุงแต่งสี รสชาติ กลิ่น เพื่อใช้ถนอมอาหาร ซึ่งอาหารพวกนี้เป็นอันตรายต่อสุภาพ ถ้าทานมาก จะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

4.อาหารที่มีแป้งและน้ำตาล รวมถึงข้าวขัดสีจนขาว ผู้สูงอายุไม่ค่อยได้ใช้พลังงานมาก สารอาหารที่รับประทานเข้าไป สะสมอยู่ในร่างกายเพราะจะทำให้อ้วนง่าย

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

5.อาหารหมักดอง เป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ เช่น เต้าหู้ยี้ ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง ผลไม้ดองต่าง ๆ

ถึงแม้ว่า การหมัก ดอง จะมีประโยชน์เพื่อยืดอายุอาหาร แต่ในขั้นตอนต่าง ๆ เราไม่รู้เลยว่า ผัก ผลไม้ที่เขานำมาหมัก ดองนั้น สะอาดเพียงพอหรือไม่ หรืออาจจะมีการใช้สารเคมี สารปนเปื้อน สารฟอกสี ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

หากรับประทานไปมาก ๆ โซเดียมจะสะสมอยู่ในร่างกายและก่อให้เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

6.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน รวมถึงการสูบบุหรี่ ไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูงอายุที่ควรหลีกเลี่ยงเท่านั้น ทุกเพศ ทุกวัย ก็ควรงดเครื่องดื่มประเภทนี้ด้วย นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลไม้ร่างกายอ่อนแอลง และมีโรคภัยต่าง ๆ ตามมา

อายุกับร่างกายสวนทางกัน อายุมากขึ้น ร่างกายก็เริ่มเสื่อมลง อาหารสำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ มีข้อจำกัด ค่อนข้างเยอะ ที่แนะนำมาข้างต้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ยังมีสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ “ความสะอาด” อย่าลืม!!! ทำความสะอาดวัตถุดิบ และลวกภาชนะที่ใส่อาหารก่อนทุกครั้ง

ระวัง!!! อาหารบางอย่าง สามารถก่อให้เกิดโรคได้

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

ข้อแนะนำเรื่อง ไตรกลีเซอไรด์ (Trigleceride) กับผู้สูงอายุ

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย ที่ได้รับจากอาหาร ประเภท น้ำมันหมู น้ำมันจากสัตว์ และน้ำมันพืชบางชนิด และอีกส่วนหนึ่ง จะมาจากร่างกายสร้างขึ้นได้เอง

ไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ หรือที่ร่างกายได้รับจากการกินไขมันโดยตรง

ไตรกลีเซอไรด์ มีความสำคัญต่อร่างกายในด้านโภชนาการ คือ ให้พลังงานสูงกว่าอาหารทั่วไป แต่ผลเสียก็มีมาก

ไตรกลีเซอไรด์สูงอันตรายจริงไหม

ไตรกลีเซอไรด์ ส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกาย

มีผลทำให้หลอดเลือดแดงมีความแข็ง ไม่ยืดหยุ่น และส่งผลต่อความผิดปกติของระบบประสาท ตับ ม้าม ข้อต่อกระดูก

หากไตรกลีเซอไรด์สูงมาก ๆ อาจทำให้ปวดท้องจากการอักเสบของตับอ่อน หรือเกิดปัญหาผิวหนังมีปื้นเหลือง เป็นเม็ดพุพอง

การตรวจสอบไตรกลีเซอไรด์

การวิเคราะห์โรค ด้วยวิธีการเจาะเลือด เพื่อดูว่า ในเลือดมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูงเพียงใด หากเกินกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าเสี่ยง

คำแนะนำในการป้องกัน และรักษาผลจากไตรกลีเซอไรด์สูง

  • จำกัดสารอาหารประเภทไขมัน และอาหารหวานจัด
  • จำกัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • รักษาโรคต่าง ๆ ที่มีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง ได้แก่ เบาหวาน โรคไตบางชนิด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับคำแนะนำและรักษาจากแพทย์ บางรายจำเป็นต้องได้รับยา เพื่อควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ หรือบางราย อาจพบความผิดปกติของโรคทางกรรมพันธุ์ จะได้รักษาให้ถูกต้อง

คอเลสเตอรอล กับผู้สูงอายุ

คอเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่างกาย ได้รับจากอาหารที่มาจากสัตว์ ส่วนอาหารที่มาจากพืช จะไม่มีคอเลสเตอรอล

และอีกส่วนหนึ่งคือ ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง จากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน

คอเลสเตอรอลกับไตรกลีเซอไรด์ในผู้สูงอายุ

คอเลสเตอรอล หากมีสะสมในเลือดในปริมาณสูงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้ง่าย ๆ สาเหตุหลักที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสัตว์มาก แต่บางรายก็อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือจากโรคบางชนิด เช่น โรคไต โรคตับ และโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา

ส่งผลทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ไม่ยืดหยุ่น เส้นเลือดอุดตัน ถ้าหากเกิดที่เส้นเลือดหัวใจ จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด มีอันตรายถึงชีวิตได้

การตรวจสอบคอเลสเตอรอล

ทำได้โดยการตรวจเลือด เพื่อดูว่ามีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร หรือไม่ โดยการงดอาหารทุกชนิดก่อนเจาะเลือดเป็นเวลา 12 ชม. จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้

การป้องกันและรักษาผลของคอเลสเตอรอลสูง

สำหรับคำแนะนำในการป้องกันและรักษา โรคคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง คือ

  • จำกัดอาหารประเภทไขมัน เพราะอาหารที่มีไขมันมาก จะมีคอเลสเตอรอลสูงด้วย
  • รับประทานน้ำมันพืช ที่มีกรดไลโนเลอิก อย่างเพียงพอ จะมีผลทำให้เพิ่มการขับถ่ายคอเลสเตอรอลออกจากร่างกาย
  • รับประทานคอเลสเตอรอลให้น้อยลง ในอาหารจำพวก เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะสมองสัตว์ หนังเป็ด หนังไก่ สำหรับไข่ ซึ่งมีคอเลสเตอรอลอยู่ 250-300 กรัม ใน 1 ฟอง ยังคงรับประทานได้ อาจจะวันเว้นวัน หรือถ้ากลัวมาก อาจทานแต่ไข่ขาว เพราะไม่มีคอเลสเตอรอล ผู้สูงอายุบางคนไม่ยอมทานไข่ ปรากฏว่าอาหารที่รับประทานอยู่ มีโปรตีนที่มีคุณภาพน้อย ไม่เพียงพอ บางทีทำให้เกิดโรคขาดโปรตีน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยรักษาระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกวิธีหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องควบคู่ไปกับ การควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
  • รับคำแนะนำและการรักษาจากแพทย์ ซึ่งบางรายต้องรับการรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

สรุปเรื่อง อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

ดังตัวอย่างและข้อมูลเบื้องต้นทั้งหลายนั้น อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ที่นำมาเสนอ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักการโภชนาการที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตและท้องถิ่น หรือขึ้นอยู่กับวัตถุดิบในท้องถิ่นนั้น การโภชนาการที่ดี รวมไปถึง ประเภทอาหารที่มี ควรให้มีความหลากหลาย และเป็นไปตามความต้องการของร่างกาย ของผู้สูงอายุในแต่ละท่าน

ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว อาจมีการคิดสูตรอาหารใหม่ ๆ ขึ้นมาเองก็ได้ แล้วแต่ความชื่นชอบและความต้องการของแต่ละท่าน

แต่อย่าลืมว่า อาหารบางประเภทไม่เหมาะกับผู้สูงอายุบางท่าน ที่มีโรคประจำตัว

และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเอาใจใส่ดูแล ทั้งเรื่องวัตถุดิบ การเตรียมและการปรุงอาหาร และสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ จะทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้น มีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรง และมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ผู้บรรยาย ขอให้ทุกท่าน ได้เพลิดเพลินไปกับอาหารทุกมื้อ เลยนะคะ

สูตรอาหารทางสายยาง ชนิดปั่น

สูตรอาหารทางสายยางชนิดปั่น สำหรับผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง

  1. อกไก่ 1/2 ถ้วยตวง (ไม่เอาหนัง)
  2. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
  3. ข้าวสวย 1/4 ถ้วยตวง
  4. ไข่ไก่ 2 ฟอง
  5. น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ
  6. น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ ( น้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันถั่วเหลือง )
  7. ฟักทอง 1/4 ถ้วยตวง
  8. เติมน้ำให้ครบ 1,200 cc
  9. ใบคะน้าหรือใบกวางตุ้งหรือตำลึง1/2 ถ้วยตวง
อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

วิธีทำอาหารปั่น สำหรับให้ผู้ป่วยทางสายยาง

  1. นำส่วนผสมทุกอย่างที่ล้างให้สะอาดแล้ว นำมาหั่นเป็นชิ้น ใส่ลงในหม้อ (ยกเว้นไข่) พร้อมเทน้ำที่ตวงไว้ใส่ลงไป
  2. นำขึ้นตั้งไฟเพื่อต้ม ห้ามคน ปล่อยให้สุกเองจนเปื่อยนุ่ม แล้วค่อยตอกไข่ใส่ลงไป พอไข่สุก ให้ปิดไฟ ยกลงจากเตา พักให้พออุ่น
  3. นำอาหารที่ได้ มาปั่นจนละเอียด แล้วเทใส่เหยือก พร้อมกับกรองกากด้วยกระชอน
  4. แบ่งอาหารปั่นใส่ถุง ตามจำนวนที่แพทย์สั่ง เก็บไว้ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง
  5. อาหารปั่นที่ออกจากตู้เย็น (ห้ามนำไปอุ่น) แต่ใช้วิธี นำน้ำร้อนใส่ลงไปเล็กน้อย เพื่อผสมในอาหารเพื่อให้คนได้เข้ากัน
  6. หลังจากนั้นจึงนำอาหารไป Feed ให้กับผู้ป่วยตามขั้นตอนจนหมดในแต่ละมื้อ

สูตรอาหารนี้ จะได้อาหารรวม 1,000 ซีซี (ใช้ภายในวันเดียว) โดยแบ่งให้ผู้ป่วยรับประทานมื้อล่ะ 250 ซีซี จำนวน 4 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า, มื้อกลางวัน, มื้อเย็น และก่อนนอน

อโรคยา ปรมา ลาภา

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

เรียบเรียงและเผยแพร่โดย

น.ส.จรรยาณี ภูนางดาว
นักโภชนาการปฏิบัติการ

โรงพยาบาลคลอลหลวง จ.ปทุมธานี

Download สื่อการสอน PDF file

อาหารและโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ

เคล็ดลับความงามที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับความสวย

ลดน้ำหนักด้วยการ กดจุด

เป็นเรื่องที่น่าห่วงคือ ประชาชนวัยรุ่นสวนใหญ่สมัยนี้ มักนิยมใช้ยาลดความอ้วน ซึ่งยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ออกกฤทธิ์และประสาท อาจทำให้เกิดการติดยาได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาแก้ไขปัญหาโรคอ้วนลงพุงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือด

เท้าสวย ขาเรียวงาม

การดูแลตนเองเมื่อเป็นตะคริว

ทุกคนรู้จัก ตะคริว เวลาเป็นนี่ไม่ต้องพูดถึงกันล่ะ วันนี้จะมาอธิบายถึงปัญหาและสาเหตุของการเป็นตะคริว และการแก้ตะคริว ให้หายไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการปฏิบัติ ดูแลตนเอง เมื่ออยู่ๆ เกิดเป็นตะคริวขึ้นมา ปกติทั่วไป ตะคริวนั้น คือภาวะที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่คลายตัวออก

ผิวสวยหน้าใส

ครีมหน้าขาว กับ Alpha Arbutin

สินค้าของเรายังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่คุณจะได้พบกับนวัตกรรมที่แหกกฏทุกความขาวของผิวคุณ ด้วยผลิตภัณฑ์ของเรา Whitening Day Cream & Whitening Night Cream ซึ่งจุดเด่นของ Whitening Day Cream

เสื้อผ้าแฟชั่น

เสื้อผ้าจากขยะ แฟชั่นกระดาษ

งานแฟชั่นโชว์ในโบลิเวียมีความแตกต่างจากแฟชั่นโชว์ที่อื่นๆ เนื่องจากเสื้อผ้าสวยๆ ที่นางแบบสวมใส่ ล้วนทำจากกระดาษอินทรีย์และขยะรีไซเคิล มาริโยน มาเซโด นักออกแบบเสื้อผ้าชื่อดังของโบลิเวีย เป็นผู้ปลุกวงการแฟชั่นโบลิเวีย

แต่งหน้าสวย

การทำความสะอาดเครื่องสำอางบนใบหน้า

เวลาที่ผู้หญิงได้แต่งหน้าสวยๆ แต่งหน้าแบบดารา แล้วออกมาสวยเป๊ะเวอร์ เชื่อว่าคุณผู้หญิงหลายๆ คนคงจะมีความสุขมากๆ

อาหารเพื่อสุขภาพ

เมื่อลูกเป็นสาวก่อนวัย พ่อแม่จะแก้ปัญหาอย่างไร

ยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่า คนเรานั้นมีอายุเฉลี่ยเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งคงจะเป็นเพราะสภาวะแวดล้อมและอาหารการกินต่างๆ