ในร่างกายคุณมีกูลูต้าไธโอนอยู่แล้ว โดยสารตัวนี้มาจากตับ ซึ่งทำหน้าที่สร้างสารกลูต้าไธโอนให้กับร่างกาย คุณคงรู้จักหมู่อาหารโปรตีนได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ในหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์
โปรตีนจะมีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบที่มาเชื่อมต่อกัน กลูต้าไธโอน Glutathione ก็คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง แต่เป็นอณูโปรตีนที่ไม่ยาวมากนักที่เกิดจากอะมิโน Amino Acid 3 ชนิดมาประกอบกันคือ Cysteine Glutamate และ Glycine
แปลกใจไหมว่าถึงแม้จะไม่หามาเพิ่มให้กับร่างกาย แต่เจ้ากลูตาไธโอน สามารถสังเคราะห์โดยเซลล์ในร่างกายของเราเอง จากกระบวนปฏิกิริยาชีวเคมีในทุกเซลล์ทั่วๆ ไป แต่จะพบได้มากที่สุดที่ตับของเรา (ข้อมูลโดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล) เพื่อการทำผิวขาว และวิธีทำให้ผิวขาวใส
จากจุดเริ่มต้นทางการแพทย์ พบว่าการขาดสารตัวนี้จะเกิดปัญหาทางสุขภาพในคนไข้หลายๆ ราย เช่นคนไข้ที่เป็นโรคตับเรื้อรังอยู่แล้ว พอมีการลดลงของกลูตาไธโอนนี้เกิดในเซลล์ตับ Hepatocyte จะมีโอกาสทำให้เกิดตับไม่ทำหน้าที่ ถ้าขาดมากๆจะทำให้เกิดตับวายและเสียชีวิตได้ในที่สุด และในคนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ปกติ หรือเกิดเนื้อร้าย มะเร็ง รวมทั้งโรคเอดส์ พอขาดสารกลูตาไธโอนอย่างเรื้อรัง กลับเร่งให้เกิดให้อาการโรคเหล่านี้แย่ลงไปอีก จึงมีการวิจัยศึกษาเจ้าสารตัวนี้อย่างจริงจัง
ในความเป็นจริง ทางเภสัชวิทยา ได้มีวิจัยเพื่อนำสารนี้มาเป็นใช้เป็นการรักษาโรค มานานแล้ว ดังตัวอย่างเช่น
- การสารนี้มาใช้กับรักษาโรคระบบเส้นประสาทบกพร่อง ได้แก่ โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ
- ใช้ในการบำบัดเบื้องต้นสำหรับมะเร็งบางชนิด เช่นมะเร็งกระเพาะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
- รักษาพิษจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด
- ใช้เสริมควบคู่ไปกับการรักษาโรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด Atherosclerosis โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease
- โรคเบาหวาน ปอดทำงานผิดปกติ สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียงดังมาเกินไป ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันการได้รับสารพิษหรือบำบัดอาการที่ได้รับสารพิษให้คืนสภาพได้เร็ว มากกว่าเดิม
- เป็นต้น
ผลข้างเคียงและข้อควรระวังของกลูต้าไธโอน
การรักษามักจะให้โดยการฉีดเข้าเส้นหรือเข้าที่กล้ามเนื้อ โดยการรักษาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น เพื่อติดตามผลการรักษาและคอยป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงของยาดังกล่าวที อาจเกิดขึ้นได้แก่
- ผิวหนังแดง
- ความดันโลหิตต่ำ
- หอบหืดเฉียบพลัน
- อาจเกิดอาการแพ้ Anaphylactic Reaction จากการปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์
มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ว่า เนื่องจากกลูตาไธโอนเองมีผลไปการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งปกติแล้วเอนไซม์นี้มีหน้าที่ทำให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว ผลข้างเคียงของการใช้สารนี้ในลักษณะนี้จึงส่งผลให้ร่างกายมีปริมาณเม็ดสีลดลง จึงทำให้ดูเสมือนว่ามีผิวขาวยิ่งขึ้น
ไม่ใช่ว่าทุกคนสามารถใช้สารนี้ได้ทั้งหมด ข้อห้ามใช้และควรระวังเป็นพิเศษในผู้ที่แพ้ยาฉีดกลูตาไธโอน และผู้ที่อยู่ระหว่างการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ หรือคนไข้มีประวัติอาการแพ้ หอบหืด เป็นต้น
กลูตาไธโอนช่วยให้ผิวขาวได้จริงหรือ?
อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ของการใช้ยากลูตาไธโอนคือ การยับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสีให้ผิวหนัง รวมทั้งการเปลี่ยนเม็ดสีที่สร้างขึ้นจากสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว จึงมีการคิดนำเอาสารชนิดนี้มาใช้เป็นอาหารเสริมโดยหวังว่า จะสามารถเสริมและเพิ่มความเข้มข้นของกลูตาไธโอนในกระแสเลือดให้มากๆ เพื่อหวังผลให้ผิวหน้าขาวอมชมพู
แต่ในความเป็นจริงยาเม็ดที่เป็นอาหารเสริมนั้น ทานมากเท่าไหร่ก็จะไม่ได้ผล เพราะสารชนิดนี้จะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกาย ไม่ถูกดูดซึม แพทย์หลายสำนักจึงได้มีการดัดแปลงโดยทำการฉีดเข้าเส้นหรือเข้ากล้ามเนื้อ เช่นเดียวกับการรักษาโรคต่างๆ อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงของผิวขาวเป็นอาการชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่ควรใช้ยานี้ในทางที่ผิด
กลูตาไธโอนในธรรมชาติ
พบมากในผลไม้ ได้แก่ แตงโม สตรอเบอรี่ องุ่น ผลอโวกาโด ส่วนในผักพบมากใน หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับเนื้อสัตว์จะพบได้ใน ปลา และเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ดังนั้นควรเลือกรับประทานจากธรรมชาติดีกว่าที่จะหลงไปใช้สารนี้อย่างผิดๆ และขาดความเข้าใจ
จะเห็นแล้วว่า วิธีทำให้ผิวขาว และการเร่งผิวขาวด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นวิธีธรรมชาติแล้วอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้ และหากใช้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญแล้วอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วย ดังนั้น เคล็ดลับสุขภาพและสมุนไพรเพิ่มความงามหลายชนิดจึงมีประโยชน์มากมายกว่าการเร่งรัดด้วยวิธีผิดปกติ
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับผิวสวยใส
เคล็ดลับทำหน้าใส สวยเด้ง
วันนี้เปิดมาดูหน้า beautyfullallday.com แล้วสาวๆ ท่านไหนต้องการมีใบหน้าสวยใสไม่ควรพลาดในวันนี้
ลดและควบคุมน้ำหนัก
Estrogen Side Effects Weight Gain
Estrogen เอสโตรเจนจัดเป็นฮอร์โมนสเตอรอยด์ (Steriod hormone) ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศ (sex hormone) ของเพศหญิง
ลดและควบคุมน้ำหนัก
การนอนหลับ ช่วย ลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่
การนอนก็เป็นการพักผ่อนที่ดีอย่างหนึ่ง หากนอนหลับสนิท ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานอย่างช้าๆ อวัยวะบางส่วนได้พักผ่อน
เคล็ดลับความงาม
ไขความลับ สารอาหารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่
วันนี้จะมาไขความลับในส่วนของ สารอาหารต้านอนุมูลอิสระ และชะลอความชรา โดยบิวตี้ฟูลออลเดย์ กันซะเลย
เคล็ดลับสุขภาพดี
วิตามิน ลดสัดส่วน ผิวขาว อกอึ๋ม จริงหรือ
เชื่อว่าใครหลายคนที่ผ่านหูผ่านตาไปทางโซเชียลมีเดียต่างๆ คงจะเคยเหลือบเห็นโฆษณาที่อ่านแล้วไม่อยากจะเชื่อนักว่า
โรคภัยไข้เจ็บ
ความรู้เรื่อง แคลเซียม กับ โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ
แคลเซียม จัดเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในอันดับต้นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก