หากพูดว่า ภาวะรกเกาะต่ำ คงจะไม่มีสูติแพทย์คนไหนที่อยากเจอกับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะแบบนี้ เนื่องจากภาวะรกเกาะต่ำนั้น
เกิดจากการที่รกฝังตัวที่ส่วนล่างของโพรงมดลูก ซึ่งเป็นการฝังตัวที่ผิดที่ผิดทางไปมาก ทำให้มีความผิดปกติเกิดขึ้นได้มาก อาการสำคัญของภาวะนี้คือ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งมักจะไม่มีอาการเจ็บครรภ์ร่วมด้วย และมักเกิดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ 28 สัปดาห์หลังจากมีการตั้งครรภ์ไปแล้ว
เมื่อเกิดเลือดออกครั้งแรกมักจะมีเลือดออกซ้ำ และมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแผลที่หายไม่สนิท เนื่องจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของหญิงมีครรภ์ ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว เป็นต้นว่า การออกกำลังกายแรงๆ มีการทำกิจกรรมที่มีการกระทบกับช่องคลอดหรือเป็นเหตุให้ช่องคลอดได้รับความกระทบกระเทือนได้ง่ายๆ โดยกิจกรรมทั้งหลายจะทำให้เกิดบาดแผลได้ง่ายที่มดลูกทั้งสิ้น
รกเกาะอยู่ใกล้กับปากมดลูก หรือปิดทางออกของมดลูกนี้ จะพบในหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 200-300 ราย มักพบในครรภ์แรกหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของมดลูก เช่น มีก้อนเนื้องอกในมดลูก ทำให้การเกาะตัวของรกกับผนังมดลูกผิดปกติไป โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ มักได้แก่ ครรภ์ครั้งที่สอง ครรภ์แฝด มารดาที่เคยผ่าท้องคลอดมาก่อน หากอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด ทารกยังแข็งแรงและเลือดออกไม่มากนัก แพทย์จะรักษาโดยการให้นอนพักในโรงพยาบาล และจะผ่าท้องคลอดเมื่อครรภ์ครบกำหนด หากมีการเจ็บครรภ์และทารกอยู่ในภาวะอันตราย หรือมารดตกเลือดมากอย่างในภาพ แสดงรกผังตัวที่ส่วนล่างของโพรงมดลูกและคลุมปากมดลูก และกำลังมีเลือดออกอยู่ เป็นอันตรายทั้งทารกในครรภ์และมารดาอย่างมาก
ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายหรือไม่
อาการโดยรวมของรกเกาะต่ำนี้ จะมีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นพักๆ โดยไม่มีอาการปวดเจ็บในท้องแต่อย่างไร และมดลูกนุ่มเป็นปกติ โดยมากมักเกิดเมื่อครรภ์ได้ 7 เดือนขึ้นไป ถ้าเป็นไม่มาก เลือดอาจออกเล็กน้อย และหยุดไปได้เอง และทารกสามารถคลอดตามปกติได้ แต่ถ้ารกเกาะต่ำมาก หรือขวางปากมดลูก อาจทำให้ตกเลือดมาก อาจทำให้ผู้ป่วยช็อก หรือทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนตายในท้องได้ โรคนี้บางครั้งอาจแยกไม่ออกจากรกลอกตัวก่อนกำหนด วิธีตรวจคือ การทำอัลตร้าซาวด์ในขณะตั้งครรภ์ เพื่อดูความผิดปกติเท่านั้น
หากหญิงตั้งครรภ์สงสัยว่าจะเป็น หรือคิดว่ามีอาการคล้ายคลึงกันนี้ ควรตรวจสอบจากโรงพยาบาล โดยการทำอัลตร้าซาวด์ และหากว่าเลือดออกไม่มาก ควรให้นอนพักในโรงพยาบาลจนกว่าเลือดจะหยุด และควรนัดตรวจอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งเด็กคลอด ในกรณีนี้อาจคลอดตามธรรมชาติได้ แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ในกรณีถ้าเลือดออกมากอาจต้องให้เลือด และผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง ในการตรวจภายในช่องคลอด ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และเตรียมพร้อมที่จะให้เลือดและทำการผ่าตัดได้ทันที กรณีที่เป็นหนักในหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ครบกำหนดคลอด แพทย์อาจมีทางเลือกให้ทำแท้ง เนื่องจากต้องรักษาชีวิตของมารดาไว้ หากมารดามีอาการเลือดออกไม่หยุด
ทั้งนี้ หญิงที่เคยมีการผ่าคลอดมาแล้วหากมีสาเหตุของภาวะรกเกาะต่ำ เลือดอาจจะออกไม่หยุดเนื่องจากแผลที่เคยผ่าตัดและแผลที่ผ่าตัดใหม่ เปิดทางให้เลือดไหลออกได้ง่าย หากมีอาการเลือดไม่แข็งตัวร่วมด้วยจะยิ่งอันตรายมาก
วิธีป้องกันภาวะรกเกาะต่ำ
หากรู้ตัวว่าตนเองมีครรภ์และมีอัตราของภาวะรกเกาะต่ำแน่ชัด ให้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ จะช่วยให้เม็ดเลือดมีการสร้างใหม่อยู่เสมอ และมีเกล็ดเลือดมากขึ้น อีกทั้งการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ควรมีการกระทบกับบริเวณช่องคลอดมากนัก ทั้งในเรื่องกิจกรรมกลางแจ้ง และอื่นๆ และที่สำคัญ ต้องหมั่นปรึกษาแพทย์และฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เมื่อมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์โดยด่วน
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับผิวสวยใส
สารเคมีที่ทำให้หน้าขาว
การใช้ครีมหน้าขาวทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
เคล็ดลับสุขภาพดี
ภาวะของการมีบุตร ยาก
โดยทั่วไปแล้ว หญิงไทยเรามีอัตราเฉลี่ยของการมีบุตรยากอยู่ที่ประมาณ 10-20% ของประชากรทั่วประเทศ
เคล็ดลับสุขภาพดี
Health Questionnaire แบบทดสอบ สุขภาพ
มีใครเคยทำแบบทดสอบสุขภาพมาบ้างหรือยัง แล้วรู้ไหมว่าคืออะไร health questionnaire หรือแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพหรือแบบทดสอบสุขภาพ
เคล็ดลับสุขภาพดี
Melamine สารอันตราย ที่ควรรู้ไว้
ถึงคราวที่ทั่วโลกต้องตื่นตัวอีกครั้ง เมื่อนมผงมรณะที่มีสารเมลามีนปนเปื้อนได้คร่าชีวิตทารกชาวจีนไป 4 คน และเด็กอีกครึ่งแสนต้องเผชิญกับโรคนิ่วในไต
เคล็ดลับสุขภาพดี
ทานไข่ เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
สำหรับผู้ที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นที่มาของการเกิดโรคเบาหวานและโรคต่างๆ มากมาย
ลดและควบคุมน้ำหนัก
การลดคอเลสเตอรอล
คอเลสเตอรอลสูงในเลือดมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น กรรมพันธุ์ โรคบางชนิด ท่านต้องรับประทานยาคอเลสเตอรอลและรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้มีคอเลสเตอรอลสูงในเลือด